Page 91 -
P. 91

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


















               ประวัติประเพณีวิ่งควำย








                                                                 ข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี


                                                   ประเพณีวิ่งควายมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย  เป็นประเพณี
                                             เอกลักษณ์ประจ�าท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีมานานกว่า ๑๐๐ ปี จัดขึ้นโดยมี
                                             วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมประเพณีอันดีงาม และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด
                                              ชลบุรีโดยจะจัดงานในวันขึ้น ๑๔ ค�่า เดือน ๑๑ หรือก่อนวันออกพรรษา ๑ วัน

                                                   เพื่อรอคอยเวลาที่ผลผลิตจะตกดอกออกรวง และให้คนกับควายได้มีโอกาส
                                                   พักผ่อนหลังจากตรากตร�างานในท้องนามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณี
                                                   วิ่งควาย ยังเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณ
                                                  ต่อชาวนาและคนไทยว่ากันว่าถ้าปีใดไม่มีการวิ่งควาย ปีนั้นวัวควายจะเป็น

                                                  โรคระบาดล้มตายเป็นจ�านวนมาก หรือถ้าควายของใครเกิดเจ็บป่วยขึ้นมา
                                                  เจ้าของควายมักจะน�าควายของตนไปบนกับเทพารักษ์ โดยเมื่อหายเป็นปกติ
                                                 แล้วจะต้องน�าควายมาวิ่งแก้บนในวันงาน ชาวบ้านในอ�าเภอเมืองชลบุรีและ
                                                 อ�าเภอใกล้เคียง จะตื่นแต่เช้ามืดเพื่อน�าควายออกจากคอกมาอาบน�้าให้สะอาด

                                                และแต่งตัวให้อย่างสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะตกแต่งส่วนหัวตั้งแต่คอขึ้นไป
                                                รวมทั้งสายสนตะพาย และปฏิกชโลมด้วยน�้ามันและเครื่องหอม ขนจะถูกถู
                                                 ด้วยแปลงสะอาดเป็นมันระยับไปทั้งตัว ส่วนเกวียนที่บรรทุกก็จะถูกตกแต่ง
                                                 อย่างสวยงามด้วยซุ้มทางมะพร้าว พร้อมกันนั้นก็จะน�าผลิตผลของตนบรรทุก

                                                  เกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้านตลาดไปพร้อมๆ กัน เมื่อจะเริ่มพิธีวิ่งควาย
                                          คณะกรรมการจะจัดเครื่องเซ่น ซึ่งประกอบด้วยอาหาร คาวหวาน ใส่กระทงใบตอง
                        อย่างละเล็กละน้อยวางบนโต๊ะซึ่งปูด้วยผ้าขาว ตั้งวางไว้กลางแจ้ง จุดธูปเทียนและกล่าวค�าอัญเชิญเทวดา
               และภูตผีปีศาจที่เร่ร่อน ให้มากินเครื่องเซ่นไหว้ เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครองผู้คนและสัตว์เลี้ยงในหมู่บ้านของตน ให้ประสบ

               แต่ความสุขในชีวิตและการงานอาชีพตลอดปี หลังจากนั้นขบวนแห่ควายที่ตกแต่งอย่างสวยงามจะตั้งขบวนเคลื่อนตัว
               ไปที่เมืองชลบุรี และมาหยุดชุมนุมควายกันที่ลานกว้างของวัดใหญ่อินทาราม เพื่อจะเริ่มพิธีประกวดควาย ซึ่งมีทั้ง
               การประกวดสุขภาพ ควายแข็งแรง ควายงาม ที่เป็นคุณลักษณะของการประกวดวิ่งควายที่แข่งขันกัน เมื่อตัวใดชนะ
               เจ้าของจะได้ถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัลเป็นเกียรติยศและก�าลังใจ ส่วนการแข่งขันวิ่งควายจะมีทั้ง รุ่นจิ๋ว รุ่นเล็ก

               รุ่นใหญ่ ซึ่งผู้ที่จะขึ้นขี่ควายนั้น นิยมใช้เด็กหนุ่ม หรือเด็กชายอายุตั้งแต่ ๑๐ ขวบขึ้นไป มีระยะทางวิ่งประมาณ
               ๑๐๐ เมตร ท่ามกลางกองเชียร์ที่คอยส่งเสียงเชียร์ และลุ้นกันอย่างสนุกสนาน โดยเฉพาะตอนที่คนขี่ตกหลังควาย
               จะได้รับเสียงเฮมากเป็นพิเศษ


                                                                            กับการมีส่วนร่วมอนุรักษ์พัฒนาควายไทยและเครือข่ายคนรักควาย 89
                                                                                      ๑๖ ปี สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96