Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และจากการเดินทางไปดูงานของอธิบดีกรม
พัฒนาที่ดินเรื่องการเกษตรธรรมชาติ ที่ฟาร์มโอฮีโต๊ะ ประเทศ
ญี่ปุ่น ได้น�าพันธุ์หญ้าแฝกญี่ปุ่นมาด้วย ซึ่งได้น�าไปขยายพันธุ์
และเก็บรักษาพันธุ์ไว้ที่สถานีพัฒนาที่ดินราชบุรี นอกจากนี้
ยังมีพันธุ์จากบราซิล ซึ่ง ดร.วีระชัย ณ นคร น�าเข้ามาจาก
เมือง Belem และในช่วงปลายปี 2536 นายริชาร์ด กริม
ชอร์ (Richard Grimshaw) แห่งธนาคารโลก ได้น�าพันธุ์
หญ้าแฝกหอมหลายพันธุ์จากต่างประเทศมาให้โครงการ
หลวงเกษตรที่สูงโดยส�านักงานพัฒนาที่ดินที่สูง กรม
พัฒนาที่ดินเป็นผู้ดูแลและขยายพันธุ์ เช่น จากประเทศบราซิล
(ทวีปอเมริกาใต้) กัวเตมาลา (ทวีปอเมริกากลาง) และฟิจิ (เกาะ
ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้) นอกจากนั้น ดร.พอล เตรือง
(Paul Truong) จากออสเตรเลีย ได้น�าพันธุ์มอนโต (Monto)
มาให้กรมพัฒนาที่ดินเมื่อต้นปี 2538 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ไม่มี
เมล็ด อย่างไรก็ตาม พันธุ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศเหล่านี้
ยังไม่มีรายงานว่ามีการศึกษาเปรียบเทียบว่าเหมาะสมกับ
ประเทศไทยหรือไม่อย่างไร แต่จากการสังเกตความสนใจ
หญ้าแฝกหอมจากต่างประเทศ จะเน้นทางด้านความหอม
ของรากเพื่อสกัดเอาน�้ามันหอมระเหย เพื่อการศึกษาวิจัย
ด้านสมุนไพรและเครื่องหอม และสารป้องกันก�าจัดศัตรูพืช
ซึ่งหากจะใช้ประโยชน์จากรากเพื่อสกัดน�้ามันหอมระเหยแล้ว
เทคนิคการปลูกเพื่อเอารากเป็นปริมาณมากและสะอาดนั้น
จะต้องใช้เครื่องปลูกพิเศษ ง่ายต่อการเก็บเกี่ยวราก เช่น
ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านทางภาคเหนือดังเช่นเทคโนโลยีของ
ชาวกะเหรี่ยง ที่จังหวัดตาก และแม่ฮ่องสอน ที่ปลูกหญ้าแฝก
ในกระบอกไม้ไผ่ที่โตมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
15 เซนติเมตร โดยน�ากระบอกไม้ไผ่มาเรียงเป็นแถวใน
ร่องในหุบ ตัดกระบอกไม้ไผ่ให้มีความยาวมากกว่า 1 เมตร
หลังจากรากหญ้าแฝกโตเต็มกระบอกไม้ไผ่แล้วแกะออก
แล้วน�าไปล้างน�้า จะได้รากยาวและสะอาด หรือเทคโนโลยี
ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ที่ปลูกหญ้าแฝกในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เป็นต้น
n พันธุ์หญ้าแฝก 23