Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                     ได้มีการน�าแหล่งพันธุ์ทั้ง 10 แหล่งพันธุ์ ไปขยายผลในภาคต่าง ๆ ตามแผนงานพัฒนาของ
            กรมพัฒนาที่ดินในช่วงปี 2536 และ 2537 และได้มีการประชุมหาข้อสรุปแหล่งพันธุ์ที่เหมาะสมส�าหรับ
            ภาคต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้
                     l ภาคเหนือ แหล่งพันธุ์ที่เหมาะสมคือ ศรีลังกา นครสวรรค์ และก�าแพงเพชร 1
                     l ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งพันธุ์ที่เหมาะสมคือ ร้อยเอ็ด และสงขลา 3
                     l  ภาคกลาง  และภาคตะวันออก  แหล่งพันธุ์ที่เหมาะสมคือ  ประจวบคีรีขันธ์
            ราชบุรี ก�าแพงเพชร 1 ก�าแพงเพชร 2 สุราษฎร์ธานี และสงขลา 3 ที่สามารถขึ้นได้ในสภาพดินเค็ม คือ
            ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์
                     l ภาคใต้ แหล่งพันธุ์ที่เหมาะสมคือ สงขลา 3 และสุราษฎร์ธานี


            หญ้าแฝกแหล่งพันธุ์อื่น ๆ
                     การเก็บรวบรวมพันธุ์หญ้าแฝก นอกจากกรมพัฒนาที่ดินแล้ว ยังมีส่วนราชการและหน่วยงาน
            อื่นเก็บรวบรวมด้วย เช่น โครงการเกษตรที่สูง โดยส�านักงานพัฒนาที่ดินที่สูง และกรมประชาสงเคราะห์

            ชาวกะเหรี่ยงปลูกและใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพรมานานแล้ว  ซึ่งเป็นพันธ์ุมีลักษณะล�าต้นโต  กอสูง
            เช่นเดียวกับสายพันธุ์แม่ฮ่องสอน ซึ่งเก็บจากอ�าเภอขุนยวม ที่ระดับความสูงจากระดับน�้าทะเลประมาณ
            1,479 เมตร โครงการดอยตุงเก็บพันธุ์หญ้าแฝกจากหลายท้องที่ เช่น อ�าเภอพิมาย อยุธยา สุราษฎร์ธานี
            และขยายพันธุ์สุราษฎร์ธานีใช้ปลูกในพื้นที่โครงการซึ่งมีชื่อพ้องกับสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี  ของกรม
            พัฒนาที่ดินซึ่งเก็บมาจากอ�าเภอพระแสง ส่วนพันธุ์สุราษฎร์ธานีของโครงการพัฒนาดอยตุงนั้น น�ามาจาก
            ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีการน�าเข้ามาจากอินโดนีเซีย เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของรากหญ้าแฝก
            ในด้านสมุนไพรและน�้ามันหอมระเหย
                     การทดสอบแหล่งพันธุ์หญ้าแฝกเพื่อใช้บนพื้นที่สูง  ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นท้องฟ้าปิดด้วย
            เมฆหมอกในฤดูฝน และหมอกควันในฤดูแล้ง ความเข้มของแสงน้อย จากการสังเกตพบว่าแหล่งพันธุ์
            พื้นเมืองจากอ�าเภอขุนยวม หรือแหล่งพันธุ์แม่ฮ่องสอน มีการเจริญเติบโตดี และต้านทานโรคโคนเน่าและ
            โรคขอบใบไหม้ในพื้นที่ปางตอง ส่วนพันธุ์ศรีลังกาไม่ต้านทานต่อโรคดังกล่าว ซึ่งเข้าใจว่าหญ้าแฝกอ่อนแอ
            เนื่องจากได้รับแสงแดดน้อย โรคจึงเข้าท�าลายได้ง่ายซึ่งแตกต่างจากแหล่งพันธุ์ท้องถิ่น กรณีดังกล่าว
            จึงน่าจะใช้แหล่งพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สูง เช่น แหล่งพันธุ์แม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย
            หรือปางมะผ้า ฯลฯ
















                                                                 n หญ้าแฝกคืออะไรn พันธุ์หญ้าแฝก  21 21
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35