Page 108 -
P. 108
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2) ประเภทของนโยบายเพื่อจัดการศัตรูพืช
นอกจากการจัดแบ่งการจัดการศัตรูพืชออกเป็นระดับแล้ว นโยบายการจัดการศัตรูพืชดังกล่าวยังมีรูปแบบ
ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละระดับ ตารางที่ 8.1 สรุปรูปแบบหรือประเภทของนโยบายออกเป็น 5 รูปแบบ อัน
ประกอบไปด้วย (1) นโยบายที่อยู่ในรูปของรัฐบัญญัติ หรือกฎข้อบังคับ (Law & Regulations); (2) นโยบายที่อยู่
ในรูปของสถาบัน/ องค์กรส าคัญ (Institutions); (3) นโยบายที่อยู่ในรูปของการลงทุนของรัฐ (Government
Investment); (4) นโยบายที่อยู่ในรูปของการด าเนินงานของรัฐ (Government Operations); และ (5) นโยบาย
ที่อยู่ในรูปแบบของปฏิญญาและข้อตกลงต่างๆ (Declarations, Agreements, etc.) นอกจากนั้น นโยบายฯ
ภายใต้รูปแบบเดียวกันอาจได้รับการก าหนดชื่อเรียกที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ตัวอย่างเช่น นโยบายที่จัดอยู่
ในรูปแบบของรัฐบัญญัติ (Law & Regulations) อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชก าหนด พระราชกฤษฎีกา
นโยบายในระดับโลก (Global Level):
นโยบายที่พบในระดับนี้มีประกอบไปด้วย (1) อนุสัญญาต่างๆ (Conventions) (2) สนธิสัญญา (Treaties)
รวมไปถึง (3) กรอบยุทธศาสตร์ส าหรับการจัดการสารเคมีอย่างปลอดภัยต่างๆ รูปแบบของนโยบายในกลุ่มนี้เป็น
ลักษณะของกรอบข้อตกลงที่มีผลผูกมัดทางกฎหมายในระดับสากลต่อการด าเนินการต่างๆ ของประเทศสมาชิก
ภายใต้กรอบข้อตกลงที่เกี่ยวข้องที่ประเทศสมาชิกได้ลงนามเห็นชอบ เปูาหมายร่วม (Shared Goal) เกิดจากการ
ตัดสินใจลงนามเข้าร่วมของประเทศสมาชิกในฐานะตัวแทนของรัฐประเทศเหล่านั้นหรือกลุ่มสหพันธ์โดยความ
สมัครใจ และประเทศที่ลงนามได้ก าหนดกรอบข้อตกลงเพื่อด าเนินการเพื่อให้บรรลุเปูาหมายร่วมดังกล่าวข้างต้น
ตัวอย่างของนโยบายในกลุ่มนี้ได้แก่ Rotterdam Convention Alliance; The Stockholm Convention on
Persistent Organic Pollutants; Mercury Treaty; Stockholm Convention on Persistent Organic
Pollutants (POPs) และ The Strategic Approach to International Chemicals Management (SAICM).
93