Page 62 -
P. 62

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                       3) การเลี้ยงปลานิล

                       อัตราการปล่อยพันธุ์ปลานิล  สมาชิกที่เลี้ยงปลานิลทั้งสองรูปแบบปล่อยพันธุ์ปลาไม่ต่างกันมากนัก โดย

               เฉลี่ยสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวปล่อยพันธุ์ปลา 4,497 ตัว/ไร่ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 711 ตัว/ไร่ หนาแน่นที่สุด
               5,667 ตัว/ไร่ และที่ปล่อยบางที่สุด 3.500 ตัว/ไร่ และสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลโดยมีคอกสุกรบนบ่อปลาปล่อยพันธุ์ปลานิล
               บางกว่าสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวเล็กน้อยคือเป็น 3,024  ตัว/ไร่โดยเฉลี่ย มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 748  ตัว/ไร่
               หนาแน่นที่สุด 4,000 ตัว/ไร่ และที่ปล่อยบางที่สุด 2,000 ตัว/ไร่ (ตารางที่ 2-14)


                       ระยะเวลาเลี้ยง  ระยะเวลาที่เลี้ยงใกล้เคียงกันทั้งสองรูปแบบ การเลี้ยงปลานิลอย่างเดียวใช้เวลาโดยเฉลี่ย
               219 วัน/รอบ มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 20 วัน/รอบ ที่ใช้เวลาเลี้ยงนานที่สุดคือ 270 วัน และที่เวลาสั้นที่สุดคือ 190 วัน
               ในขณะที่การเลี้ยงปลานิลโดยมีคอกสุกรบนบ่อโดยเฉลี่ยใช้เวลา 208 วัน มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 46 วัน/รอบ ที่ใช้เวลา
               เลี้ยงนานที่สุดคือ 270 วัน และที่เวลาสั้นที่สุดคือ 120 วัน มีความแตกต่างกันมากกว่าการเลี้ยงปลานิลอย่างเดียว การ

               เลี้ยงปลานิลในพื้นที่อําเภอพานใช้เวลาประมาณเจ็ดเดือน ได้ปลาขนาดใหญ่กว่าที่เลี้ยงกันในที่อื่นๆ

                       อัตรารอด สมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวรายงานอัตรารอดซึ่งมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69  โดยมีค่าเบี่ยงเบน
               มาตรฐานร้อยละ 22 อัตรารอดสูงสุดที่สมาชิกรายงานคือร้อยละ 99 และที่ตํ่าสุดคือ ร้อยละ 15 ค่าเฉลี่ยของอัตรารอดที่
               สมาชิกซึ่งเลี้ยงปลานิลโดยมีคอกสุกรบนบ่อปลารายงานคือร้อยละ 71 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของการเลี้ยงปลานิลอย่างเดียว

               เล็กน้อย โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานร้อยละ 22 อัตรารอดสูงสุดที่สมาชิกรายงานคือร้อยละ 90 และที่ตํ่าสุดคือ ร้อยละ
               25

                       จ านวนรอบการเลี้ยง  โดยเฉลี่ยสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวเลี้ยงปลานิล 1.4  รอบ/ปี มีค่าเบี่ยงเบน
               มาตรฐาน 0.4 รอบ/ปี จํานวนรอบการเลี้ยงสูงที่สุด 2 รอบ/ปี และมีที่เลี้ยงเพียง 1 รอบ/ปี สมาชิกที่เลี้ยงปลานิลโดยมี

               คอกสุกรอยู่บนบ่อมีรอบการเลี้ยงโดยเฉลี่ย 1.8 รอบ/ปี มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.7 รอบ/ปี จํานวนรอบการเลี้ยงสูงที่สุด
               3 รอบ/ปี น้อยที่สุด 1 รอบ/ปี

                       4) ต้นทุน-รายได้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


                       การเลี้ยงปลานิลอย่างเดียว สมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวมีต้นทุนรวม 114,669 บาท/ไร่/รอบ เป็นต้นทุน
               คงที่ 14.695 บาท/ไร่/รอบ หรือร้อยละ 12.81 ของต้นทุนรวม ส่วนใหญ่เป็นการประเมินค่าเสื่อม ประกอบด้วยต้นทุนค่า
               พาหนะ ร้อยละ 7.27 ซึ่งประเมินเป็นค่าเสื่อมราคา/ไร่/รอบการเลี้ยง  ค่าบ่อเลี้ยงปลานิล ร้อยละ 3.34 ได้แก่ค่าขุดและ
               อุปกรณ์จัดทําบ่อเลี้ยงปลา  และยังมีค่าติดตั้งระบบนํ้า ประกอบด้วยเครื่องสูบนํ้าและเครื่องตีนํ้าให้อากาศเป็นสําคัญ
               ประเมินค่าเสื่อม/ไร่/รอบเช่นเดียวกัน ค่าอุปกรณ์ระบบอาหารมีทั้งเครื่องผสมอาหารและเครื่องให้อาหาร ค่าอุปกรณ์

               ระบบจับปลานิลรวมทั้งอุปกรณ์บรรจุปลาที่จับ ในส่วนค่าที่ดินประเมินจากค่าเช่าที่ดินซึ่งเป็น 775 บาท/ไร่/รอบ

                       ต้นทุนผันแปร เฉลี่ย 99,974 บาท/ไร่/รอบ หรือร้อยละ 87.19 ของต้นทุนรวม ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนเงินสด และ
               มีค่าเสียโอกาสแรงงานในครัวเรือนที่ได้ประเมินไว้ในส่วนของแรงงาน ต้นทุนผันแปรที่สําคัญได้แก่ค่าอาหารสําเร็จรูปซึ่ง
               สูงถึง 59,167 บาท/ไร่/รอบ หรือร้อยละ 51.60 ของต้นทุนรวม ตามมาด้วยค่าแรงงาน 32,477 บาท/ไร่/รอบ หรือร้อยละ

               28.32  ของต้นทุนรวม แต่ในส่วนของค่าแรงงานนี้ส่วนใหญ่คือร้อยละ 25.08  เป็นค่าเสียโอกาสของแรงงานครัวเรือน
               ไม่ได้จ้าง แรงงานที่จ้างมักจะเป็นแรงงานที่ต้องใช้ในการจับปลาเท่านั้น ค่าพันธุ์ปลาโดยเฉลี่ยเป็น 2,633 บาท/ไร่/รอบ
               หรือ ร้อยละ 2.30  ของต้นทุนรวม นอกจากนั้นมีค่าเวชภัณฑ์/เคมีภัณฑ์ ค่าไฟฟ้า อาหารเสริม/วิตามิน ค่านํ้ามัน
               เชื้อเพลิง และค่านํ้า รวมกันเป็นร้อยละ 7.26 ของต้นทุนรวม



                                                           2-20
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67