Page 61 -
P. 61

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





               2.2 การเพาะเลี้ยงปลานิลที่สมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จ ากัด ด าเนินงานอยู่ในปัจจุบัน

                       2.2.1 การเพาะเลี้ยงปลานิลของสมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จ ากัด


                       1)  รูปแบบการเพาะเลี้ยงปลานิล สมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จํากัด เลี้ยงปลานิลในบ่อดินสองแบบ แบบ
               แรกเลี้ยงปลานิลอย่างเดียว และแบบที่สองเลี้ยงปลานิลโดยมีคอกสุกรอยู่บนบ่อปลา ซึ่งปัจจุบันทํากันน้อยลง สาเหตุ
               หนึ่งเนื่องจากมีแนวโน้มที่จะมีโอกาสส่งออกปลานิลโดยเฉพาะส่งไปประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น สหภาพพม่า ซึ่ง

               ส่งออกไปทางชายแดนที่แม่สาย ปัจจุบันมีผู้ส่งปลานิลเข้าไปขายในสหภาพพม่าบ้างแล้ว ปลานิลที่เลี้ยงได้ในพื้นที่นี้มี
               ขนาดใหญ่ เอามาแล่เนื้อขายเป็นเนื้อปลาแล่แช่แข็ง (fillet) ได้ แต่ปัจจุบันยังขายในลักษณะปลาสดทั้งตัวเพราะขายได้
               ราคาที่สูงกว่า สหกรณ์ฯ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการในการจัดทําอาคารแปรรูปปลานิล สามารถทําปลาแล่
               เนื้อแช่แข็ง ระหว่างที่คณะวิจัยลงพื้นที่ สหกรณ์ฯ มีแนวคิดในการแปรรูปแต่ยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจน หากจะเป็นการค้า

               ปลานิลแปรรูปและส่งออก ฟาร์มปลาต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม สมาชิกจะไม่สามารถเลี้ยงสุกรบนบ่อปลาได้

                       ดังแสดงไว้ในตารางที่ 2-12 จากตัวอย่างสมาชิกที่ให้สัมภาษณ์ สมาชิกสหกรณ์ฯ ร้อยละ76.67 เลี้ยงปลานิล
               แต่เพียงชนิดเดียว และมีสมาชิกร้อยละ 23.33 ที่ยังเลี้ยงปลานิลโดยมีคอกสุกรบนบ่อปลา


                ตารางที่ 2-12  รูปแบบการเลี้ยงสัตว์นํ้าของตัวอย่างสมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จํากัด
                        ระบบการเลี้ยง         จ านวน(ราย)   ร้อยละของตัวอย่างสมาชิก

                ปลานิลอย่างเดียว                  23                 76.67
                ปลานิลโดยเลี้ยงสุกรบนบ่อปลา        7                 23.33

                รวม                               30                100.00



                       2)  เนื้อที่การเพาะเลี้ยงปลานิล  จากตารางที่ 2-13  สมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จํากัด มีเนื้อที่ฟาร์มที่ถือ
               ครองโดยเฉลี่ย 8 ไร่/ราย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9 ไร่/ราย รายที่มีเนื้อที่ฟาร์มสูงที่สุดมีเนื้อที่ 30 ไร่/ราย ที่มีเนื้อที่ตํ่าสุด

               คือ 2 ไร่/ราย เฉพาะสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียว มีเนื้อที่ฟาร์มโดยเฉลี่ย 7 ไร่/ราย สมาชิกที่เลี้ยงสุกรบนบ่อปลานิล
               มีเนื้อที่เลี้ยงเฉลี่ย 12 ไร่/ราย มีขนาดเนื้อที่มากกว่ารายที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียว สมาชิกทั้งหมดเป็นเจ้าของที่ดินโดยมี
               โฉนดเป็นเอกสารสิทธิ ราคาที่ดินโดยเฉลี่ยเป็น 287,000  บาท/ไร่  ที่ดินของสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวมีราคา
               เฉลี่ย 271,739  บาท/ไร่ ตํ่ากว่าราคาที่ดินโดยเฉลี่ยของสมาชิกที่เลี้ยงสุกรบนบ่อปลานิลด้วยที่เป็น 337,143  บาท/ไร่
               เนื่องจากสมาชิกที่เลี้ยงปลานิลอย่างเดียวส่วนหนึ่งมีบ่อปลาอยู่ในพื้นที่ต้นนํ้าไกลออกไปจากชุมชนมากกว่าสมาชิกที่
               เลี้ยงปลานิลโดยมีคอกสุกรอยู่บนบ่อปลา


                ตารางที่ 2-13  เนื้อที่การเลี้ยงสัตว์นํ้าเฉลี่ยต่อรายของตัวอย่างสมาชิกสหกรณ์ประมงพานจํากัด

                                                             เนื้อที่เลี้ยงบ่อดินเฉลี่ย
                          รูปแบบ                                   (ไร่/ราย)

                                                      ค่าเบี่ยงเบน
                                            ค่าเฉลี่ย   มาตรฐาน     ค่าสูงสุด       ค่าต ่าสุด
                รวมเฉลี่ย                      8          9             30               2

                ปลานิลอย่างเดียว               7          7             30               2

                ปลานิลโดยเลี้ยงสุกรบนบ่อปลา   12          12            30               2
                                                           2-19
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66