Page 50 -
P. 50
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หน่อไม้อัด กล้วยแปรรูป รายได้เฉลี่ยสูงกว่าที่ป่าหุ่งและหัวง้ม คือเป็น 233,262 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือ 79,475 บาท/
คน/ปี (องค์การบริหารส่วนตําบลสันกลาง, 2557)
ในตอนปลายนํ้าเป็นพื้นที่ต าบลหัวง้ม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทําการเกษตร มีหนองฮ่าง
เป็นหนองนํ้าขนาดใหญ่ที่สําคัญของชุมชน มีประชากร 5,820 คน อยู่ใน 13 หมู่บ้าน ทําเกษตรกรรมมีทั้ง ทํานา ทําไร่
ทําสวน เลี้ยงสัตว์รวมทั้งเลี้ยงปลาและสุกร รายได้เฉลี่ย 187,120 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือ 70,977 บาท/คน/ปี ชาวบ้าน
ยังดําเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่อเนื่อง มีระบบคมนาคมและการ
ติดต่อสื่อสารที่สะดวก (องค์การบริหารส่วนตําบลหัวง้ม, 2557)
2.1.6 การเป็นสมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จ ากัด
1) จ านวนปีและเหตุผลที่เข้าเป็นสมาชิก จากตารางที่ 2-4 สมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จํากัด เกือบทั้งหมด
คือ ร้อยละ 93.33 เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ มาแล้วมากกว่าหนึ่งปี ที่เหลือร้อยละ 6.67 เพิ่งเป็นสมาชิกได้เพียงปีเดียว โดย
เฉลี่ยเป็นสมาชิกมาแล้ว 11 ปี ที่เป็นสมาชิกมานานที่สุดคือ 23 ปี ส่วนมากเป็นสมาชิกมาแล้วในช่วง 6-16 ปี สหกรณ์ฯ
พัฒนามาจากความต้องการของเกษตรกรในอันที่จะรวมกลุ่มกันขายปลานิล ในพื้นที่มีผู้รับซื้อตั้งกลุ่มอยู่หลายกลุ่ม
ปัจจุบันมีความพยายามพัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้รับซื้อปลานิลโดยสหกรณ์ฯ เป็นผู้ประสานงาน กรมประมงและ
กรมส่งเสริมสหกรณ์ให้ความสนใจสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายฯ
เมื่อสอบถามถึงสาเหตุที่เข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ร้อยละ 70.00 รายงานว่าเข้าเป็นสมาชิกเพื่อให้มีการต่อรอง
ซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรมขึ้น และเพื่อให้สหกรณ์ฯ รวบรวมผลผลิตและประสานการตลาดหาช่องทางขาย
ผลผลิตของสมาชิก รองลงไปร้อยละ 63.33 รายงานว่าต้องการให้สหกรณ์ฯ ช่วยต่อรองขายผลผลิตให้ได้ราคาที่ดีขึ้น
ร้อยละ 60.00 ให้เหตุผลว่าต้องการสินเชื่อเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ร้อยละ 56.67 รายงานว่าต้องการความรู้พื้นฐานในการ
เพาะเลี้ยงปลานิล และร้อยละ 50.00 รายงานว่าต้องการความรู้เชิงเทคนิคที่ทันสมัย นอกจากนั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของ
สมาชิกให้เหตุผลของการเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ตามลําดับดังนี้ ร้อยละ 43.33 ต้องการพัฒนาความเป็นผู้นําในการ
เพาะเลี้ยงปลานิล ซึ่งปัจจุบันสหกรณ์ประมงพาน จํากัด ได้ชื่อว่าเป็นผู้นําในการเพาะเลี้ยงปลานิล ร้อยละ 36.67 ให้
เหตุผลว่า เพื่อร่วมมือแก้ปัญหาโรคปลานิล ร้อยละ 30.00 ให้เหตุผลว่าต้องการรับการถ่ายทอดความรู้จากสหกรณ์ฯ
และอีกอย่างละร้อยละ 16.67 ให้เหตุผลว่าต้องการให้สหกรณ์ฯ ช่วยเรื่องการจดทะเบียนฟาร์มและทําใบสําคัญการขาย
ผลผลิตให้ และช่วยประสานเครือข่ายราชการและเอกชน เหตุผลการเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ที่สําคัญชัดเจนคือเพื่อ
รวมกันทําการตลาดและเพื่อให้สามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ในราคาที่เป็นธรรม
เมื่อให้สมาชิกเลือกตอบเหตุผลสําคัญที่สุดของการเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ เพียงข้อเดียว สมาชิกร้อยละ
70.00 เลือกการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร มีเพียงร้อยละ 26.67 ที่เลือกการขอรับความช่วยเหลือด้านปัจจัย
การผลิต และเพียงร้อยละ 3.33 ที่เลือกเหตุผลการขายปลาให้แก่สหกรณ์ฯ สมาชิกสหกรณ์ประมงพาน จํากัด มีความ
มุ่งมั่นในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลานิลในพื้นที่นี้
2) กิจกรรมที่สมาชิกท าร่วมกับสหกรณ์ฯ ดังแสดงไว้ในตารางที่ 2-5 โดยเฉลี่ยสมาชิกถือหุ้นสหกรณ์ฯ ราย
ละ 22,530 บาท ร้อยละ 33.33 เคยเป็นกรรมการคณะดําเนินการสหกรณ์ฯ จัดได้ว่าสมาชิกสนใจลงทุนร่วมถือหุ้นและมี
โอกาสมีส่วนร่วมเข้ามาเป็นกรรมการทํางานให้ส่วนรวม ข้อนี้อาจเป็นเพราะสมาชิกมีความเชื่อมั่นและรู้สึกในความเป็น
เจ้าของสหกรณ์ฯ พร้อมที่จะร่วมคิดร่วมทํางานเพื่อพัฒนาองค์กรของตน
สมาชิกร้อยละ 90.00 รายงานว่าเคยซื้อปัจจัยการผลิตจากสหกรณ์ฯ ปริมาณที่ซื้อโดยรวมคิดเป็นร้อยละ
96.67 ของปริมาณใช้ และเมื่อถามถึงการซื้อปัจจัยการผลิตจากสหกรณ์ฯ ในปัจจุบัน สมาชิกร้อยละ 86.67 รายงานว่า
2-8