Page 49 -
P. 49
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.1.5 สภาพกายภาพของชุมชนในอ าเภอพาน จังหวัดเชียงราย
อําเภอพานเป็นหนึ่งใน 18 อําเภอของจังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดของจังหวัด มีพื้นที่ติดต่อกับอําเภอ
แม่ใจ จังหวัดพะเยา และ อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง มีพื้นที่ 639,375 ไร่ เป็นป่าไม้ 233,125 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขตป่า
สงวน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบระหว่างภูเขามีเทือกเขาสูง 350 – 600 เมตร อยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีที่
ราบเพาะปลูกได้ มีคลองส่งนํ้าของระบบชลประทาน และมีลํานํ้าสําคัญหลายสาย เช่น แม่ส้าน แม่ลาว ร่องธาร แม่เย็น
และ คาวโตน และยังมีแหล่งกักเก็บนํ้าที่สําคัญหลายแห่ง เช่นหนองฮ่าง หนองเวียงห้าว หนองบวกปลาค้าว และ หนอง
ควายหลวง พื้นที่มีอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 24 – 27 องศาเซลเซียส ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยทั้งปี 1,853
มิลลิเมตร สภาพพื้นที่และแหล่งนํ้าของอําเภอพานเอื้อต่อการเลี้ยงปลานิลตลอดจนสัตว์นํ้าจืดอื่นๆ
เส้นทางหลักในพื้นที่คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) และถนนทางหลวงจังหวัดหมายเลข
1126 พื้นที่อําเภอพานประกอบด้วย 16 ตําบล ประชากร รวม 116,021 คน ส่วนใหญ่ทําเกษตรกรรม ทั้ง ปลูกข้าว
ข้าวโพด ลําไย และ ลิ้นจี่ มีการเลี้ยงสัตว์ ทั้ง สุกร โค กระบือ แพะ และสัตว์ปีก และเลี้ยงสัตว์นํ้า ซึ่งปลานิลเป็นแหล่ง
รายได้สําคัญแหล่งหนึ่งของพื้นที่ ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 213,620 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือ 77,178 บาท/คน/ปี ทั้งจาก
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และรับจ้าง (ที่ว่าการอําเภอพาน, 2557)
สมาชิกสหกรณ์ฯ ที่ให้สัมภาษณ์เพื่อกรอกแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกที่มีบ่อเลี้ยงปลานิลในพื้นที่สาม
ตําบล คือ ป่าหุ่ง สันกลาง และหัวง้ม มีข้อมูลสภาพกายภาพของพื้นที่ดังจะกล่าวต่อไป
ต าบลป่าหุ่ง เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ตอนต้นนํ้า (โดยตําบลสันกลาง เป็นพื้นที่กลางนํ้า และ ตําบลหัวง้ม เป็นพื้นที่
ปลายนํ้า) คุณภาพนํ้าตอนต้นนํ้าดีกว่าปลายนํ้าลงไป ผู้เลี้ยงปลานิลจะเลี้ยงได้ผลดีกว่า พื้นที่ในตําบลป่าหุ่ง มีอยู่
131,250 ไร่ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เป็นภูเขาและป่าไม้ ที่เหลือประมาณร้อยละ 20 เป็นที่ราบ ครัวเรือนที่ตั้งอยู่
นอกเขตอุทยานแห่งชาติมีไฟฟ้าใช้ และมีแหล่งนํ้าธรรมชาติซึ่งเป็นต้นนํ้า มีประชากร 10,588 คน อยู่ใน 18 หมู่บ้าน
พื้นที่ที่ทําการเกษตรได้ มีสภาพเหมาะแก่การทํานาข้าว อาศัยนํ้าจากลํานํ้าธรรมชาติ คือ แม่ส้าน ลํานํ้าปอน ลํานํ้าวัง
และอาศัยชลประทานแม่ลาว มีการปลูกกระเทียม หอมแดง และหอมแบ่ง นอกจากนี้มีการปลูกข้าวโพด ทําสวนผลไม้
ได้แก่ ลําไยและลิ้นจี่ มีทั้งที่ทําสวนผลไม้หลังบ้านขนาด 1- 3 ไร่ และทําสวนผลไม้ขนาดใหญ่ หลังฤดูทํานามีการปลูก
ผัก เช่น พริกใหญ่และมะเขือเทศ มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง สุกร โคพื้นเมือง และกระบือ มีพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงปลา 537 ไร่ โดย
144 ครัวเรือนใน 17 หมู่บ้าน นอกจากการทําเกษตรกรรม ประชากรยังประกอบอาชีพรับจ้าง รวมทั้งรับราชการ
ค้าขาย และเป็นช่างฝีมือ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาทําเกษตรกรรมโดยทํานาเป็นสําคัญ มี
รายได้เฉลี่ย 187,358 บาท/ครัวเรือน/ปี หรือ 67,203 บาท/คน/ปี (องค์การบริหารส่วนตําบลป่าหุ่ง, 2557)
พื้นที่ในต าบลสันกลางในตอนกลางนํ้าเป็นที่ราบเชิงเขา บางตอนเป็นที่ราบลุ่มมีเทือกเขาเป็นแนวกั้นออกจาก
อําเภอแม่สรวย มีป่าชุมชนหลายแห่งในพื้นที่ แหล่งนํ้าลําธารที่สําคัญ ได้แก่ ห้วยแม่หนาด ลํานํ้าแม่คาวโตน ทาง
ตะวันออกรับนํ้าจากชลประทานแม่ลาว ทางตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขา รับนํ้าจากลําห้วยแม่หนาดและอ่างเก็บนํ้าห้วย
ผาแดง ตําบลสันกลางมีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน เส้นทางคมนาคมเป็นถนนลาดยาง มีประชากร 8,424 คน และมีพื้นที่
ถือครองเพื่อการเกษตร 33,437 ไร่ ใน 18 หมู่บ้าน ประชากรประมาณร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งมีนา
ข้าวเป็นสําคัญ ประชากรที่ทํานาข้าวมีประมาณหนึ่งในสาม และยังมีที่ทําไร่ พืชเศรษฐกิจสําคัญนอกจากข้าวยังมี
ข้าวโพด กระเทียม หอมแดง ขิง และ เห็ด มีการทําสวนลําไยและสวนแก้วมังกร การเลี้ยงปลานิลเป็นอาชีพที่สําคัญ
อาชีพหนึ่งในตําบลนี้ ประชากรประมาณหนึ่งในสี่มีอาชีพรับจ้าง และยังมีที่ทําอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ ทอผ้า ทํา
2-7