Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




                      เวทนาที่เกิดในใจของเรานั้น มันก็มีสองแบบ คือ เป็นไปในทาง

               สุขก็ได้ เป็นไปในทางทุกข์ก็ได้ ทีนี้เราต้องคอยพิจารณาว่าอันนี้มันเกิด
               อย่างไร มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยของอะไร ทำาให้เกิดอะไรขึ้นมา คอยนึกคิด

               พิจารณาไตร่ตรองอยู่เสมอๆ ให้มีสติปัญญาไว้ การปฏิบัติธรรมะที่ย่อ
               ที่สุด ที่สั้นที่สุด ก็คือการควบคุมตนเอง ด้วยสติด้วยปัญญาเท่านั้นแหละ

               ถ้าเรามีสติควบคุมตนเอง มีปัญญาพิจารณาไตร่ตรองในเรื่องต่างๆ ที่
               เกิดขึ้นแล้ว เราจะหนีพ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตประจำาวัน

               จะไม่เกิดปัญหา จะไม่เกิดความเดือดร้อนอะไรขึ้นในใจเรามากเกินไป
               แต่เมื่อใดเราเผลอตัวไป เราประมาทไป หรือว่าไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณา

               ไม่ได้ฉุกคิดขึ้นมาในใจ ไม่ได้ฉุกคิดว่านี่คืออะไร ไม่ได้คิดอย่างนั้น แต่
               ถ้าเมื่อใดเราฉุกคิดขึ้นมา เอ๊ะ อะไร ทำาไมจึงเป็นอย่างนี้ เรียกว่าสติ

               มาแล้ว ปัญญามาแล้ว เราก็สามารถที่จะกำาหนดมันได้ ว่าอะไรเป็นอะไร



                      สิ่งใดที่เป็นอกุศลเป็นไปเพื่อสร้างกิเลส เป็นไปเพื่อสะสมความ
               ทุกข์ความเดือดร้อนใจ เราก็ต้องเอาออกไปเสีย อย่าให้มันเกิดขึ้นในใจ

               ของเรา เช่นเหมือนว่าญาติเราอยู่ด้วยกันแล้วตายจากไป เรานึกว่า คน
               เราเกิดแล้วไม่ตายมีไหม เรามีพ่อมีแม่แล้วพ่อแม่เราเดี๋ยวนี้ยังอยู่หรือ

               เปล่า ไปแล้ว แล้วคุณปู่คุณย่ายังอยู่หรือเปล่า ไปแล้ว ไปก่อนคุณพ่อคุณ
               แม่ แล้วพี่เราน้องเราหรือว่าใครเกี่ยวข้องกับเรา คนข้างบ้านเรามีคน

               ตายบ้างไหม ก็ตายกัน ข้างบ้านที่ไหนก็ตาย คนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ก็


                                                    ปาฐกถาธรรม  ๔7
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53