Page 106 -
P. 106
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในทางด้านศาสนาก็มีความเห็นต่างๆ กัน ใครมีความเห็นแบบ
ใดก็พูดชักจูงคนให้คล้อยตามความเห็นในแบบนั้น ที่สุดก็มีหลายแบบ
หลายความเห็น ต้องถกเถียงกันเป็นการใหญ่ ทำาไมจึงถกเถียงกัน เพราะ
เขาเป็นผู้ยึดถือในความเห็นของตนๆ ต่างก็ถือว่าอันนี้จริง อันอื่นหาจริง
ไม่ เมื่อไม่ยอมกันก็เถียงกัน การยึดมั่นในความเห็นเป็นกิเลสแบบหนึ่ง
ท่านเรียกว่า ทิฏฐุปาทาน - การยึดมั่นในความเห็น การยึดถืออย่างนี้
ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน ทุกข์เพราะคิดว่าคนอื่นไม่เห็นเหมือนตัว ทุกข์ว่า
น่าสงสารเขาที่เป็นคนเห็นผิด แต่เจ้าตัวเองหาได้รู้ไม่ว่าตนเองก็เป็นคน
เจ้าทิฏฐิ เห็นอะไรผิดอยู่เหมือนกัน
ครั้งหนึ่งมีพราหมณ์มาถามพระพุทธองค์ว่า พระองค์มีทิฏฐิ
อย่างไร ตรัสตอบว่า “ตถาคตไม่มีทิฏฐิ” เพราะไม่ทรงยึดมั่นในอะไรๆ
ทรงใช้ความรู้ความเห็นเป็นทางเดิน เหมือนคนใช้แพข้ามฟาก หาได้ทรง
ติดในแพนั้นไม่ จึงทรงกล่าวตอบอย่างนั้น มิจฉาทิฏฐิหรือความเห็นผิดมี
อิทธิพลเหนือใจคนเหนือสังคมอยู่มาก จึงเป็นการจำาเป็นที่ต้องมอบความ
เห็นในทางที่ชอบไว้แก่เขา ตั้งแต่ใจของเขายังว่างอยู่ ยังไม่ได้รับอะไร
ไว้ว่าเป็นลัทธิของตน การทำางานอย่างนี้เป็นงานของผู้นำาในครอบครัวที่
ให้การศึกษาแก่เด็กของตนอย่างถูกต้อง เพื่อให้เขารับไว้เฉพาะแต่สิ่งที่
ถูกต้องอย่างเดียว
ปาฐกถาธรรม ๑๐๕