Page 89 -
P. 89
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ชุดที่ 7 ลูกหนี้และเจ้าหนี้หลายคน
ให้นิสิตอ่านแบบฝึกหัดดังต่อไปนี้ และวินิจฉัยพร้อมยกข้อกฎหมายอธิบายให้ถูกต้อง
1. ก ข และ ค เป็นลูกหนี้ร่วมกันกู้เงิน ง ไป 30,000 บาท ในภายหลัง ก ถูกศาลสั่งให้เป็นคน
ไร้ความสามารถ ต่อมา เมื่อหนี้ถึงกําหนดชําระ ง ฟูอง ก ข และ ค ให้ชําระหนี้แก่ตน ผู้อนุบาลของ ก
อ้างว่า ก หลุดพ้นจากการชําระหนี้ เพราะนิติกรรมเป็นโมฆียะ ข และ ค ก็อ้างว่าตนหลุดพ้นจากความ
รับผิดชอบเช่นกัน เพราะ ข และ ค เป็นลูกหนี้ร่วมกับ ก เมื่อ ก มีสิทธิอย่างใด ข และ ค ก็มีสิทธิ
เช่นเดียวกับ ก ดังนี้ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก ข และ ค หรือไม่ เพราะเหตุใด
2. ก ข และ ค ร่วมกันกู้เงิน ง ไป 60,000 บาท เพื่อจะไปลงทุนกิจการค้าร่วมกัน ต่อมาหนี้ถึงกําหนด
ชําระ ทั้ง ก ข และ ค เพิกเฉยไม่ชําระหนี้ ง จึงฟูอง ก และ ข ให้ชําระหนี้ให้แก่ตน คนละ 30,000 บาท
ส่วน ค นั้นเป็นนักศึกษานิติศาสตร์ มก. ง สงสารไม่อยากให้ ค เป็นความในศาล จึงไม่ฟูอง ค ส่วน ก
และ ข ต่อสู้ ง ว่าต่างรับผิดเป็นจํานวนเท่า ๆ กัน คือ คนละ 20,000 บาท ดังนี้
ก และ ข จึงรับผิดชอบร่วมกันเพียง 40,000 บาท อีก20,000 บาท ง ต้องไปฟูอง ค อีกต่างหาก ดังนี้
ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก และ ข อย่างไรหรือไม่เพราะเหตุใด
3. ศาลพิพากษาให้เขียวและฟูาร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ม่วง ในกรณีที่เขียวและฟูาร่วมกันทํา
ร้ายม่วงจนได้รับบาดเจ็บเป็นเงิน 10,000 บาท ม่วงซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในหนี้มูลละเมิด เห็นว่าเขียวมีฐานะ
ทางการเงินดีกว่าฟูามาก จึงเรียกร้องเอาจากเขียวคนเดียว เขียวยอมชดใช้ให้ม่วงเพียงครึ่งหนึ่งคือ
5,000 บาท อ้างว่าความจริงตนเป็นผู้ชกต่อยม่วงเท่านั้น ส่วนฟูาเป็นผู้แทงทําร้ายม่วงจนม่วงได้รับ
บาดเจ็บหนัก ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสาม ก็บัญญัติไว้ว่า ใน
ระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องรับผิดเป็นส่วน ๆ เท่ากัน
จึงขอให้ม่วงไปเรียกร้องเงินที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง 5,000 บาท จากฟูาโดยตรง ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ
เขียวหรือไม่
89