Page 72 -
P. 72

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          บุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียด้วยในการช าระหนี้นั้นจะเข้าช าระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้หาได้ไม่”
                          (1) ลูกหนี้ รวมถึง ทายาทหรือผู้แทน

                          (2) บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย  :  ผู้ที่หากมีหนี้นั้นอยู่จะได้รับผลกระทบต่อกองทรัพย์สิน เช่น ผู้ค้ํา
                   ประกัน เป็นต้น
                          (3) บุคคลภายนอก ตามมาตรา 314 เว้นแต่ สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง (วรรคหนึ่ง) ขัดกับเจตนา
                   คู่กรณีได้แสดงไว้ (วรรคหนึ่ง) หรือบุคคลผู้ไม่มีส่วนได้เสียเข้าชําระหนี้โดยขืนใจลูกหนี้ (วรรคสอง)

                          มาตรา 315  “อันการช าระหนี้นั้น ต้องท าให้แก่ตัวเจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอ านาจรับช าระหนี้
                   แทนเจ้าหนี้ การช าระหนี้ให้แก่บุคคลผู้ไม่มีอ านาจรับช าระหนี้นั้น ถ้าเจ้าหนี้ให้สัตยาบันก็นับว่าสมบูรณ์”
                          ตัวอย่าง เช่น นาย ก. ซื้อที่ดินของนาย ข. แต่ชําระราคาให้มารดาของ ข. โดยแจ้ง ข. และ ข.
                   มิได้ทักท้วง และยังให้ ก. เข้าอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าว ต่อมาอีก 8 ปี ข. ฟูองเรียก ก. ให้ชําระหนี้ตาม

                   สัญญา เช่นนี้ ถือว่า ก. ให้สัตยาบันแล้วโดยปริยาย (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 1075/2515)
                          บุคคลผู้รับช าระหนี้
                          (1) เจ้าหนี้ (มาตรา 315) รวมถึง ทายาท
                          (2) ผู้มีอํานาจรับชําระหนี้แทนเจ้าหนี้ (มาตรา 315) ได้แก่ ผู้ที่ได้รับมอบอํานาจจากเจ้าหนี้

                   โดยตรง ผู้มีอํานาจรับชําระหนี้ตามกฎหมาย เช่น ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล เป็นต้น
                          (3) บุคคลอื่น ได้แก่ ผู้ไม่มีอํานาจรับชําระหนี้ (มาตรา 315) ผู้ครอง (มาตรา 316) บุคคลผู้ไม่มี
                   สิทธิจะรับ (มาตรา 317) ผู้ถือใบเสร็จเป็นสําคัญ (มาตรา 318)

                          มาตรา 316 “ถ้าการช าระหนี้นั้นได้ท าให้แก่ผู้ครองตามปรากฏแห่งสิทธิในมูลหนี้ ท่านว่าการ
                   ช าระหนี้นั้นจะสมบูรณ์ก็แต่เมื่อบุคคลผู้ช าระหนี้ได้กระท าการโดยสุจริต”
                          ผู้ชําระหนี้โดยไม่ทราบว่าผู้ครองไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิ เช่น ผู้ยืม ผู้ครองสังหาริมทรัพย์ซึ่งถูกทําละเมิด

                   (ดูมาตรา 441 ประกอบ)
                          มาตรา 317 “นอกจากกรณีที่กล่าวไว้ในมาตราก่อน การช าระหนี้แก่บุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับ

                   นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์เพียงเท่าที่ตัวเจ้าหนี้ได้ลาภงอกขึ้นแต่การนั้น”
                          ถ้าผู้ได้รับชําระหนี้นําไปให้เจ้าหนี้ที่แท้จริง เจ้าหนี้นั้นได้รับประโยชน์เท่าใด ถือเป็นลาภงอก
                   เท่านั้น

                          มาตรา 318 “บุคคลผู้ถือใบเสร็จเป็นส าคัญ ท่านนับว่าเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับช าระหนี้ แต่ความที่
                   กล่าวนี้ ท่านมิให้ใช้ ถ้าบุคคลผู้ช าระหนี้รู้ว่าสิทธิเช่นนั้นหามีไม่หรือไม่รู้เท่าถึงสิทธินั้น เพราะความ
                   ประมาทเลินเล่อของตน”

                          ต้องเป็นใบเสร็จต้นฉบับ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 945/2527) ผู้ชําระหนี้ต้องไม่รู้ว่าผู้นั้นไม่มี
                   สิทธิ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องอะไรได้อีก กฎหมายไม่ให้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้เพราะถือว่าเจ้าหนี้มีความ

                   ผิดพลาดที่ปล่อยให้ใบเสร็จไปอยู่กับผู้อื่น

                          การชําระหนี้เมื่อลูกหนี้ได้รับคําสั่งอายัดจากศาล
                          มาตรา 319 “ถ้าศาลสั่งให้ลูกหนี้คนที่สามงดเว้นท าการช าระหนี้แล้วยังขืนช าระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
                   ของตนเองไซร้ ท่านว่า เจ้าหนี้ผู้ที่ร้องขอให้ยึดทรัพย์จะเรียกให้ลูกหนี้คนที่สามนั้นท าการช าระ
                   หนี้อีกให้คุ้มกับความเสียหายอันตนได้รับก็ได้
                          อนึ่ง ข้อความซึ่งกล่าวมาในวรรคข้างต้นนี้ หาเป็นข้อขัดขวางในการที่ลูกหนี้คนที่สาม

                   จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่เจ้าหนี้ของตนเองไม่”





                                                             72
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77