Page 69 -
P. 69

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          มาตรา 295 “ข้อความจริงอื่นใด นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา 292-294 นั้น เมื่อเป็นเรื่องเท้าถึง
                   ตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่า

                   ขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง
                          ความที่ว่ามานี้ เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้ค าบอกกล่าว การผิดนัด การที่หยิบ
                   ยกอ้างความผิด การช าระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่งก าหนดอายุความหรือการที่อายุ
                   ความสะดุดหยุดลง และการที่สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืนกันไปกับหนี้สิน” เช่น

                   1. การบอกกล่าวและการผิดนัด จากกรณีตัวอย่าง หากสัญญามีกําหนดเวลาตามมาตรา 204 เจ้าหนี้
                   เรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชําระหนี้ ลูกหนี้ที่ 1 ปฏิเสธ ให้เจ้าหนี้ไปเรียกเอาจากคนอื่นก่อน
                     -             “การเตือน” มีผลเฉพาะกับลูกหนี้คนที่ 1 ผล คือ ...................
                     - เจ้าหนี้เรียกให้ใครชําระหนี้ได้อีก...............................................

                     - เจ้าหนี้เรียกได้ในจํานวนเท่าใน..................................................
                     - เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยผิดนัดจากใครได้บ้าง....................................
                   2. อายุความ หากอายุความของมูลหนี้ที่มีลูกหนี้ร่วมถึงกําหนดไม่พร้อมกัน เช่น หนี้จากมูลละเมิดที่
                   เจ้าหนี้ทราบตัวผู้กระทําผิดในเวลาต่างกัน เป็นต้น หรือ ลูกหนี้บางคนรับสภาพหนี้ทําให้อายุความสะดุด

                   หยุดลง การนั้นย่อมเป็นการเฉพาะตัว ลูกหนี้ร่วมรายอื่นยกขึ้นอ้างไม่ได้

                          (4) ผลระหว่างลูกหนี้ร่วมด้วยกันเอง

                          มาตรา 296  “ในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันทั้งหลายนั้น ท่านว่าต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ
                   กันเว้นแต่จะได้ก าหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าส่วนที่ลูกหนี้ร่วมกันคนใดคนหนึ่งจะพึงช าระนั้น เป็นอันจะ
                   เรียกเอาจากคนนั้นไม่ได้ไซร้ ยังขาดจ านวนอยู่เท่าไร ลูกหนี้คนอื่นๆ ซึ่งจ าต้องออกส่วนด้วยนั้นก็ต้องรับ
                   ใช้ แต่ถ้าลูกหนี้ร่วมกันคนใดเจ้าหนี้ได้ปลดให้หลุดพ้นจากหนี้อันร่วมกันนั้นแล้ว ส่วนที่ลูกหนี้คนนั้นจะพึง
                   ต้องช าระหนี้ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป”


                          9.4 เจ้าหนี้ร่วม
                          เจ้าหนี้ร่วม

                          (1)โดยสัญญา
                          (2)โดยผลของกฎหมาย เช่น การรับมรดก : ทายาทของเจ้าหนี้ย่อมเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ของเจ้า
                   มรดกของตน เป็นต้น


                          ผลของการเป็นเจ้าหนี้ร่วม
                          (1) เจ้าหนี้แต่ละคนต่างก็มีสิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ให้ช าระหนี้แก่ตนโดยสิ้นเชิง
                   มาตรา 298 “ถ้าบุคคลหลายคนมีสิทธิเรียกร้องการช าระหนี้โดยท านองซึ่งแต่ละคนอาจจะเรียกให้
                   ช าระหนี้สิ้นเชิงได้ไซร้ แม้ถึงว่าลูกหนี้จ าต้องช าระหนี้สิ้นเชิงแต่เพียงครั้งเดียวก็ดี ท่านว่าลูกหนี้

                   จะช าระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่คนใดคนหนึ่งก็ได้ตามแต่จะเลือก ความข้อนี้ให้ใช้บังคับได้ แม้ทั้งที่
                   เจ้าหนี้คนหนึ่งจะได้ยื่นฟ้องเรียกช าระหนี้ไว้แล้ว”
                          มาตรา 300 “ในระหว่างเจ้าหนี้ร่วมกันนั้น ท่านว่าต่างคนชอบที่จะได้รับช าระหนี้เป็นส่วนเท่าๆ
                   กัน เว้นแต่จะได้ก าหนดไว้เป็นอย่างอื่น”

                          เจ้าหนี้ที่ 1





                                                             69
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74