Page 28 -
P. 28

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                                รายงานฉบับสมบูรณ์  กันยายน
                                      โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                                 ๒๕๕๗
                       ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


                                สืบเนื่องมาจากมาตราที่ 66 รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ประชาชนมีสิทธิ และบทบาทหน้าที่ใน
                   การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติแทนที่จะให้อ านาจรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่เพียงฝ่าย

                   เดียว ซึ่งจะเป็นแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ให้ประสิทธิผลมากกว่ากฎหมายที่ออกมาใหม่จ าเป็นต้องมี
                   ความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญในมาตรานี้

                                สืบเนื่องมาจากมาตราที่ 67 รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้บุคคลมีสิทธิที่จะได้มีชีวิตอยู่ท่ามกลาง

                   สิ่งแวดล้อมที่ดี มีคุณภาพ และมีส่วนร่วมกับชุมชนและรัฐในการพิทักษ์สิทธินี้ไว้ ดังนั้น รัฐจะกระท าการใดๆ ไม่ได้
                   ถ้าส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประชาชน เจ้าของโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ต้องมีการศึกษา

                   และประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโครงการ หรือกิจกรรมนั้นโดยต้องผ่านการพิจารณาของผู้แทนองค์กร
                   เอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และหากโครงการหรือ
                   กิจกรรมใดก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บุคคลมีสิทธิฟ้องร้องหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้


                                สืบเนื่องมาจากมาตราที่ 290 รัฐธรรมนูญบัญญัติให้รัฐส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
                   อ านาจหน้าที่มากขึ้นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนนี้มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของ

                   ประชาชนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ

                          2.1.2   กฎหมายที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบ

                                 2.1.2.1 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

                                        พระราชบัญญัติป่าไม้ ก าหนดให้ความคุ้มครองสงวนรักษาของป่า โดยก าหนดนิยาม

                   ศัพท์ว่า ของป่าหมายความถึง บรรดาของที่เกิดหรือมีขึ้นใหม่ในป่าตามธรรมชาติ คือไม้ พืชต่างๆ (ตลอดจนสิ่ง
                   อื่นๆที่เกิดจากพืช)  รังนก  ครั่ง  รวงผึ้ง  น้ าผึ้ง  ขี้ผึ้ง  และมูลค้างคาว  ตลอดจนหิน  (ที่ไม่ใช่แร่ตามกฎหมายแร่)

                   และหมายรวมถึงถ่านไม้ที่คนท าขึ้นด้วย  ในเรื่องของป่าหวงห้ามนี้กฎหมายฉบับนี้ได้ก าหนดหลักเกณฑ์ใน
                   การสงวนรักษาไว้  โดยก าหนดว่า  ของป่าอย่างใดในท้องที่ใดจะให้เป็นของป่าหวงห้ามให้ก าหนดโดยพระราช

                   กฤษฎีกา การเพิ่มเติมเพิกถอนของป่าหวงห้ามที่มีพระราชกฤษฎีกาก าหนดไว้แล้วหรือจะก าหนดไว้แล้วนั้นก็ให้
                   ก าหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติมได้ การเก็บหาของป่านั้นต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และต้อง

                   เสียค่าภาคหลวงเช่นเดียวกันกับการท าไม้  อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีเหตุภัยพิบัติสาธารณะ  หรือมีเหตุจ าเป็นที่
                   เห็นสมควรช่วยเหลือราษฎรเป็นพิเศษ รัฐมนตรีอาจจะอนุญาตให้ผู้ใดเฉพาะรายเก็บหาของป่าหวงห้ามแตกต่าง
                   จากข้อก าหนดในกฎกระทรวง หรือข้อก าหนดในการอนุญาตเป็นการชั่วคราวก็ได้


                                        พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) ยังได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 54 ห้ามมิให้ผู้ใดก่อสร้าง
                   แผ้ว ถางหรือเผาป่า หรือกระท าด้วยประการใดๆ อันเป็นการท าลายป่าหรือเข้ายึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเอง
                   หรือผู้อื่น  เว้นแต่จะกระท าภายในเขตที่ประกาศจ าแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรมหรือได้รับใบอนุญาตจาก

                   พนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ก าหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้เพื่อเป็นการสงวนรักษาพื้นที่ในป่า
                   มิให้ถูกแผ้วถางไปโดยไม่เกิดประโยชน์







                                                             2-5
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33