Page 232 -
P. 232
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
3) พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ทิ้งร้าง/ป่าละเมาะ และที่โล่ง
การเกษตรกรรมภายในพื้นที่ศึกษาประกอบด้วย พืชไร่/พืชสวน นาข้าว เพาะเลี้ยงสัตว์น้้า
ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ปลูกพืชไร่/พืชสวนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.5 ของพื้นที่ศึกษา ในขณะที่นาข้าวและ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้้าลดลงประมาณร้อยละ 0.5 พื้นที่ทิ้งร้าง/ป่าละเมาะลดลงร้อยละ 2.2 ส่วนที่โล่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2
ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะสลับกันไปตามฤดูกาล โดยการส้ารวจรวบรวมข้อมูลในพื้นที่เกาะกลางพบว่า
ในพื้นที่เกษตรกรรมบนเกาะกลางได้รับผลกระทบจากน้้าทะเลที่มีระดับสูงขึ้น เวลาน้้าขึ้นมักเอ่อล้นท่วมพื้นที่
เกษตรกรรมริมสองฝั่งคลอง หลายพื้นที่ไม่สามารถท้าการเกษตรได้ ต้องปล่อยเป็นที่โล่งและทิ้งร้างจนเป็นป่าละเมาะ
4) พื้นที่พัฒนาแล้ว
หมายความถึง แหล่งชุมชน/ที่อยู่อาศัย รีสอร์ท/โรงแรม/สวนสาธารณะ/สนามกีฬา ผลของ
การศึกษาพบว่าเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5.6 คิดเป็นเนื้อที่รวมกันประมาณ 1,840 ไร่ โดยแหล่งชุมชน/ที่อยู่อาศัยมี
การขยายตัวเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูงกว่ารีสอร์ท/โรงแรม/สวนสาธารณะ/สนามกีฬา ทั้งนี้มีการเปลี่ยนสภาพการใช้
ประโยชน์ที่ดินจากป่าชายเลนมาเป็นแหล่งชุมชน/ที่อยู่อาศัยประมาณ 94 ไร่ เป็นรีสอร์ท/โรงแรม/สวนสาธารณะ/
สนามกีฬาประมาณ 12 ไร่ การเปลี่ยนแปลงบางส่วนเกิดขึ้นในบริเวณไม่ห่างจากเขาขนาบน้้า จึงควรที่จะต้องมี
มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด มิให้มีการน้าพื้นที่ป่าชายเลนไปใช้ประโยชน์ในรูปอื่นเพิ่มมากขึ้นไปกว่านี้
5) พื้นที่น้ า สันทราย และเลนงอก
การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่เป็นน้้าอันได้แก่ ทะเล/ล้าน้้า สันทราย/
ชายหาด และเลนงอกนั้น ส่วนใหญ่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นและลดลงระหว่างน้้าทะเล/ล้าน้้า กับสันทราย/
ชายหาด แปรผันตามระดับน้้าทะเลขึ้น-ลง ในขณะที่พื้นที่เลนงอกมีขนาดเพิ่มขึ้นประมาณ 80 ไร่ อันเป็นผลจากการ
สร้างเขื่อนไม้ไผ่ของชุมชน พื้นที่เลนงอกที่เพิ่มขึ้นอยู่ในบริเวณชายหาดที่หันหน้าออกสู่ทะเล เป็นบริเวณที่ในอดีต
เมื่อปี พ.ศ. 2547 เคยได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิโดยตรง แต่ปัจจุบันเป็นพื้นที่มีเลนงอกเพิ่มขึ้น เป็นผลพวงของ
การตั้งรับปรับตัวของชุมชนที่จะอยู่กับธรรมชาติ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นบทเรียนที่ควรศึกษาเรียนรู้และน้าไปปรับใช้อย่างยิ่ง
7-59