Page 231 -
P. 231
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
มาจากน้้าทะเลขึ้น-ลงเป็นหลัก ที่เหลือร้อยละ 36 ของพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่บนบกที่มีการเปลี่ยนแปลง
สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบแบบต่างๆ
การศึกษาครั้งนี้จะอธิบายการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินเฉพาะประเภทที่ส้าคัญเป็น
องค์ประกอบของระบบนิเวศน์ที่ส่งผลต่อสถานภาพและคุณค่าความส้าคัญของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาอย่าง
เขาขนาบน้้า รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงปี พ.ศ. 2557
แสดงในตารางที่ 7-24 และ 7-25 ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินหลักได้ดังนี้
1) พื้นที่ป่าชายเลน
เมื่อพิจารณาพื้นที่ป่าชายเลนพบว่ามีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 27.9 และ 28.6 ของพื้นที่ศึกษา
ในปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2557 ตามล้าดับ ลดลงร้อยละ 0.7 คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 427 ไร่ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 0.1
ต่อปี หรือลดลงปีละประมาณ 60 ไร่ พื้นที่ป่าชายเลนที่ลดลงส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนสภาพไปเป็นป่าชายเลนเสื่อมโทรม
แหล่งชุมชน/ที่อยู่อาศัย พื้นที่ทิ้งร้าง/ป่าละเมาะ ป่าชายหาด รีสอร์ท/โรงแรม/สวนสาธารณะ/สนามกีฬา
พื้นที่ป่าชายเลนฝั่งตัวเมืองกระบี่ใกล้กับเขาขนาบน้้าประมาณ 12 ไร่ ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นรีสอร์ท/
โรงแรม ถือว่าเป็นภัยคุกคามสถานะภาพของเขาขนาบน้้าที่รุนแรงที่สุด นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ป่าชายเลนเสื่อมโทรม
รวมกันประมาณ 2,000 และ 2,188 ไร่ ในปี พ.ศ. 2550 และ 2557 ตามล้าดับ มีพื้นที่ที่ต้นไม้ฟื้นตัวกลับมาเป็น
ป่าชายเลนเพียงประมาณ 3-4 ไร่ หน่วยงานที่รับผิดชอบพื้นที่ป่าชายเลนจะต้องก้าหนดมาตรการที่เด็ดขาด มิให้มี
การปรับเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าชายเลนไปเป็นอย่างอื่นมากไปกว่านี้ หรือควรหาทางฟื้นฟูป่าชายเลนเสื่อมโทรมให้
กลับมาเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถด้าเนินการได้
พื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 1 ไร่ บริเวณปลายบนของเกาะกลาง ถูกเปลี่ยนสภาพเป็นทะเล/ล้าน้้า
อันเนื่องมาจากการการกัดเซาะชายฝั่ง ที่แม้จะมีขนาดพื้นที่เล็กแต่ถือว่าเป็นประเด็นที่ส้าคัญที่ส่งผลต่อสถานะภาพ
ของทรัพยากร ทั้งนี้เนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นในที่ที่อยู่ไม่ห่างไกลจากเขาขนาบน้้ามากนัก และที่ส้าคัญเป็น
การกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดจากคลื่นของเรือหางยาวที่สัญจรไปมาตลอดทั้งวัน จึงควรที่ก้าหนดมาตรการในการใช้เรือ
มิให้เกิดคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง เช่น อาจจ้ากัดความเร็วเรือที่แล่น โดยเฉพาะในช่วงเวลาน้้าลง ก้าหนดชนิดและจ้ากัด
ขนาดของเครื่องยนต์ที่ใช้ขับเคลื่อนเรือมิให้มีก้าลังม้ามากเกินไป เป็นต้น
2) พื้นที่ป่าไม้ในเขตเมือง
หมายถึงพื้นที่ที่มีต้นไม้หนาแน่นในเขตตัวเมืองกระบี่ พื้นที่เหล่านี้ลดลงประมาณ 343 ไร่ หรือ
ประมาณปีละ 50 ไร่ กลายเป็นแหล่งชุมชน/ที่อยู่อาศัย พืชไร่/พืชสวน ที่ทิ้งร้าง/ป่าละเมาะ ที่โล่ง การลดลงของพื้นที่
ป่าไม้ในเขตเมืองเป็นไปตามสถานการณ์ของการใช้ที่ดินในเขตเมืองที่ขยายตัวตามสภาพเศรษฐกิจของเมืองที่เป็นเมือง
ท่องเที่ยว จึงมีการพัฒนาสิ่งอ้านวยความสะดวกและสาธารณูปโภคขึ้นรองรับ
7-58