Page 69 -
P. 69

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว



                            คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์           Faculty of Agriculture, Kasetsart University


               30 วินาที หรือ 150 กก.ต่อชั่วโมง (ประมาณ 1 ตันต่อวัน) ส่วนผิวเปลือกที่ถูกขัดออกจะต้องระบายออกผ่าน
               ช่องระบายน�้าหล่อก้นถังและเปลี่ยนน�้าหล่อก้นถังใหม่เป็นระยะ โดยแนะน�าให้ระบายน�้าและเปลี่ยนน�้าหล่อ
               ก้นถังใหม่เมื่อปอกแล้ว 25-30 กก. หรือทุก ๆ การปอก 5-6 ชุด



                  การใช้ประโยชน์ผลงานและกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์/ใช้ประโยชน์

                     การท�าฝรั่งแช่บ๊วยโดยทั่วไปเป็นธุรกิจระดับครัวเรือนหรือรายย่อยที่อาศัยแรงงานภายในครอบครัวและ
               พ่อบ้านแม่บ้านที่อาศัยอยู่ข้างเคียงเป็นหลัก ขั้นตอนการปอกฝรั่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานและสิ้นเปลือง
               เวลามาก การปอกโดยทั่วไปใช้เปลือกหอยแมลงภู่ ส�าหรับผู้ที่มีความช�านาญจะปอกได้ 1 ผล ภายในเวลา

               1 นาที อัตรา ค่าจ้างปอก 2 บาทต่อ กก. (ประมาณ 2-3 ผล) หรือปอกได้ 80 กก. (ประมาณ 200 ผล) ต้องใช้
               เวลา 200 นาที หรือกว่า 3 ชั่วโมง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงใช้การกระจายการจ้างแรงงานจากหลายๆ ครัวเรือน

               จึงจะได้ผลผลิตตามที่ต้องการของตลาดและส่งผลิตภัณฑ์ได้ทันตามก�าหนดเวลา
                     จากปัญหาดังกล่าวนี้ จะเห็นได้ว่าการปอกฝรั่งด้วยอัตราการผลิตสูงมีความจ�าเป็นเป็นอย่างยิ่งต่อธุรกิจ
               ของฝรั่งแช่บ๊วย และอาจเป็นโอกาสขยายการผลิตไปสู่ระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลาง (SME) ได้ ดังนั้น

               การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องปอกฝรั่งได้เป็นผลส�าเร็จ รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตที่รวดเร็วในขั้นตอนอื่นๆ
               อีก เช่น การประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงในการแช่หรือคลุกน�้าบ๊วยที่เกิดขึ้นจากโครงการนี้ นับเป็นแรงจูงใจให้มีการ
               ผู้ประกอบการสนใจการท�าเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักมากขึ้น ที่ผ่านมาทางโครงการได้บริการเครื่องปอก

               ฝรั่งให้กับวงการอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้สดและบรรจุกระป๋องที่ใช้ฝรั่งสดเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
               อาหาร และโรงงานที่ผลิตฝรั่งแช่บ๊วยโดยตรง
                     นับได้ว่าการคิดค้นเครื่องปอกฝรั่งได้เป็นผลส�าเร็จท�าให้เกิดผลิตภัณฑ์ฝรั่งแช่บ๊วยที่ผ่านการผลิตที่สะอาด

               ปลอดภัยและมีวางจ�าหน่ายเชิงพาณิชย์ขึ้นในห้างสะดวกซื้อหลายแห่งในประเทศไทย รวมทั้งผู้ประกอบการ
               รายย่อยได้มีโอกาสขยายก�าลังการผลิตและตลาดได้มากขึ้น ทั้งนี้เครื่องปอกฝรั่งมีอัตราการปอกสูงขึ้นอย่าง

               มาก อีกทั้งในขั้นตอนการแช่น�้าบ๊วยโดยใช้เครื่องคลุกน�้าบ๊วยเข้มข้นแทนการคลุกเคล้าด้วยมือหรือการแช่ใน
               ภาชนะช่วยลดเวลาการท�างานลงด้วย โดยใช้เวลาเพียง 10 นาที หากท�าการคลุกด้วยมืออาจใช้เวลาถึง
               ครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้เพราะวิธีการคลุกน�้าบ๊วยแบบใช้น�้าบ๊วยเข้มข้นด้วยเครื่องท�าให้น�้าบ๊วยซึมเข้าเนื้อของผลฝรั่ง

               เร็วขึ้น นั่นเอง



                  ช่วงเวลาที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม และข้อมูลที่แสดงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม
                     การแปรรูปจากฝรั่งสดเป็นฝรั่งแช่บ๊วย นับเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต จากการศึกษาพบว่า
               ราคาขายฝรั่งแช่บ๊วยจะสูงกว่าราคาฝรั่งสดประมาณ 5 เท่าตัว เช่น ราคาฝรั่งแช่บ๊วยผลละ 25 บาท เป็นค่า

               ต้นทุนจากฝรั่งสด 5 บาทต่อผล เมื่อแปรูปเป็นฝรั่งแช่บ๊วยมีค่าต้นทุนการผลิต ได้แก่ ค่าน�้าบ๊วย ค่าจ้างแรงงาน
               และถุงบรรจุ อีกประมาณ 5 บาทต่อผล รวมเป็นต้นทุน 10 บาทต่อผล หรือ ราว 40 เปอร์เซ็นต์ของราคาขาย
               ส่วนต่างที่จะเป็นก�าไร ค่าการตลาด ยังมีสูงถึงประมาณ 15 บาทต่อผล หรือ ราว 60 เปอร์เซ็นต์ ท�าให้

               ผู้จ�าหน่ายฝรั่งสด หรือเกษตรกรผู้ปลูกฝรั่งมีช่องทางในการผลิตและจ�าหน่ายผลผลิตแปรรูปได้อีกช่องทางหนึ่ง
               โดยเฉพาะฤดูกาลที่มีฝรั่งสดมาก เกษตรกรต้องจ�าหน่ายฝรั่งสดในราคาถูกมากๆ และต้องขายในเวลาจ�ากัด
               การแปรูปเป็นฝรั่งแช่บ๊วยช่วยให้ขายได้ราคาสูงขึ้น อีกทั้งมีอายุเก็บในตู้แช่ไว้ได้นานขึ้น ประมาณ 10 วัน

               เป็นการช่วยเพิ่มเวลาการขายผลผลิตให้ยาวนานขึ้นอีกด้วย




                                                                      ครบรอบ 72 ปี คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 67
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74