Page 97 -
P. 97

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


            ผลลัพธ์ของง�นวิจัยโคเนื้อและโคนม

                     ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโคนมทำาให้เกิดองค์ความรู้และ

            เทคโนโลยีใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือทางวิชาการกับองค์การส่งเสริม
            กิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ซึ่งได้ดำาเนินงานส่งเสริมการเลี้ยงโคนม

            ให้กับเกษตรกรควบคู่ไปกับการทำางานวิจัยทางวิชาการ โดยในปี พ.ศ. 2505
            ดร.นิลส์ กุนนาร์ ซอนเดอร์การ์ด ผู้อำานวยการคนแรกของฟาร์มโคนมไทย-
            เดนมาร์ค  (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่ง

            ประเทศไทย)  ร่วมกับภาควิชาสัตวบาล  คณะเกษตร  มหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์ ทำางานวิจัยในด้านต่างๆ ทำาให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็น

            สถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้ทำาความร่วมมือทางวิชาการ
            และมีความต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกัน
            หลายฉบับ (ภาพที่ 3-16 และ 3-17) ซึ่งงานวิจัยสามารถจำาแนกออกเป็น 5

            ลักษณะ คือ 1) ด้านอาหารและการผลิตโคนม 2) ด้านสรีรวิทยาโคนม การ
            สืบพันธุ์ และการป้องกันโรค 3) ด้านเศรษฐศาสตร์และการส่งเสริม 4) ด้าน

            การปรับปรุงพันธุ์โคนม และ5) ด้านอื่นๆ
















            ภ�พที่ 3-16 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง อ.ส.ค

                       กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

            ที่ม�: ครบรอบ 50 ปี ฟาร์มโคนม ไทย-เดนมาร์ค (2555)




                                                                             79
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102