Page 94 -
P. 94

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                  การคาดคะเนผลกระทบจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อและ

          โคนม แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และผลกระทบ
          ที่ไม่เกี่ยวข้องทางเศรษฐกิจ อันได้แก่ องค์ความรู้ เทคนิค และเทคโนโลยีที่
          เสริมสร้างสมรรถนะในการเลี้ยงโคเนื้อและโคนม อย่างไรก็ตาม การศึกษา

          ครั้งนี้แสดงถึงผลกระทบเชิงวิชาการและองค์ความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยที่
          เกี่ยวข้องกับโคเนื้อและโคนม ซึ่งถือเป็นการนำาเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยี

          การผลิตโคเนื้อและโคนมให้เกิดประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ  ซึ่งการประเมิน
          ผลกระทบในเชิงวิชาการ (ภาพที่ 3-15) สามารถจำาแนกประเด็นออกเป็น 3
          ประเด็น ดังนี้


                  1. ปัจจัยป้อนเข้า (Input) เป็นปัจจัยที่สำาคัญในการทำาวิจัยที่ประกอบ
          ด้วย นักวิจัย องค์ความรู้ ความสามารถและทักษะของนักวิจัย ทุนสนับสนุน
          การทำาวิจัย และความร่วมทางวิชาการจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น


                  2. ผลผลิต (Output) งานวิจัยด้านโคเนื้อ และโคนม

                  3. ผลลัพธ์ (Outcome) เกิดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ
          การผลิตโคเนื้อและโคนม  และความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานภายนอก

          ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยโคเนื้อทำาให้เกิดแนวทางในการพัฒนาพันธุ์โคเนื้อ
          ลูกผสมชาโรเลส์  และโคเนื้อเชิงการค้าที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด
          ชั้นสูง

                  4.  ผลกระทบ  (Impact)  ที่เกิดขึ้นจากการใช้ประโยชน์จากผลงาน

          วิจัยที่เกี่ยวข้องกับโคเนื้อและโคนม ได้แก่ บุคคลากรมีความเชี่ยวชาญเพิ่มมาก
          ขึ้น มีการพัฒนาองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ และเกษตรกรมีความรู้และความ

          เข้าใจในการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยดียิ่งขึ้น









      76
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99