Page 113 -
P. 113

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                    นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังก่อให้เกิดการบริการวิชาการและถ่ายทอด

            เทคโนโลยี โดยการจัดให้มีโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านโคเนื้อหลาย
            หลักสูตร  ได้แก่  หลักสูตรการเลี้ยงโคเนื้อ  ซึ่งมีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและ
            ระยะยาว หลักสูตรการผสมเทียมโค หลักสูตรดูแลสุขภาพโค และหลักสูตร

            ความปลอดภัยของโคเนื้อและระบบตรวจสอบย้อนกลับ  โดยมีการจัดทำา
            โครงการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นประจำาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 จนถึง

            ปัจจุบัน การถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และผู้ที่สนใจ
            ในรูปแบบของการดูงานอีกจำานวน 458 คณะ รวม 41,424 คน และการ
            จัดกิจกรรม  “งานโคเนื้อกำาแพงแสนประจำาปี”  เป็นประจำาทุกปี  ตั้งแต่ปี

            2549  จนถึงปัจจุบัน  เพื่อประกวดโคและเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ประชาชน
            โดยมีจำานวนผู้เข้าร่วมงานประมาณ95,322  คน  ผลงานวิจัยยังก่อให้เกิด

            ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและเป็นการสร้างเครือข่ายของผู้ที่อยู่ใน
            วงการ โคเนื้อ ดังนี้

                  1. กรมปศุสัตว์นำาพ่อพันธุ์โคที่ผ่านการทดสอบไปผลิตน้ำาเชื้อแช่แข็ง

                      เพื่อกระจายน้ำาเชื้อโคพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร

                  2. หน่วยบัญชาการทหารพัฒนานำาพ่อพันธุ์โคที่ผ่านการทดสอบไป
                      ผลิตน้ำาเชื้อแช่แข็ง เพื่อกระจายน้ำาเชื้อโคพันธุ์ดีให้แก่เกษตรกร

                  3. สมาคมโคเนื้อกำาแพงแสนมีสมาชิกทำาหน้าที่ผลิตลูกโค

                  4. สหกรณ์โคเนื้อมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำาแพงแสน

                      รับซื้อโคขุนและจำาหน่ายเนื้อโคพันธุ์กำาแพงแสน

                  5. ตลาดกลางโคเนื้อพันธุ์กำาแพงแสนทำาหน้าที่ซื้อขายโคพันธุ์
                      กำาแพงแสนด้วยราคาที่เป็นธรรม









                                                                             95
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118