Page 39 -
P. 39
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.3 ก�รประเมินผลตอบแทนท�งเศรษฐกิจของโครงก�รวิจัย
การประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจหรือการประเมินผลกระทบ
ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการวิจัยเป็นการใช้กรอบแนวคิดทาง
เศรษฐศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการวิจัย โดย
ผลประโยชน์เหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสวัสดิการสังคมที่ดีขึ้นใน
รูปแบบต่างๆ เช่น 1) การเพิ่มขึ้นของผลผลิต 2) การพัฒนาคุณภาพสินค้า
หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ 3) การประหยัดทรัพยากรโดยลดต้นทุนการ
ผลิตหรือลดค่าใช้จ่ายในการบริโภค และ4) การพัฒนาสุขภาพอนามัย
คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ชุมชน
หรือสังคมโดยรวมที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะถูกนำามาคำานวณเพื่อใช้วิเคราะห์ต้นทุน-
ผลตอบแทนของโครงการวิจัย โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า
ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 2-4
เมื่อผลของโครงการวิจัยก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของผลผลิต จากภาพ
2-4 (ก) สมมติให้สังคมมีอุปทานของผลผลิตเป็นเส้นตรงแนวตั้ง (เส้น Q S )
0 0
มีราคาของผลผลิตคงที่เป็นเส้นแกนนอน (P D) จะแสดงให้เห็นว่า
0
สถานการณ์เดิมนั้น สังคมมีผลผลิตในปริมาณเท่ากับ OQ ต้น/ปี โดยมี
0
ราคาผลผลิตเท่ากับ OP บาท/ตัน ในที่นี้สมมติให้ผลของโครงการวิจัยด้าน
0
เกษตรก่อให้เกิดการเพิ่มของผลผลิตโดยตรง (โดยราคาของผลผลิตยังไม่
เปลี่ยนแปลง) จากระดับเดิม (OQ ตัน/ปี) ไปยังระดับใหม่ (OQ ตัน/ปี)
0 1
จึงทำาให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเส้นอุปทานไปเป็นเส้น Q S มีผลทำาให้จุด
1 1
ดุลยภาพ ณ ระดับราคาและปริมาณเดิม (OP และ OQ ) คือ จุด a
0 0
เคลื่อนย้ายไปยังจุดดุลภาพใหม่คือจุด b ( ณ ระดับราคาเดิมแต่ปริมาณ
ใหม่ คือ OP และ OQ ) การวัดผลทางเศรษฐกิจของโครงการวิจัยเนื่องจาก
0 1
การเพิ่มผลผลิตจึงพิจารณาได้จากมูลค่าของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ Q abQ
0 1
บาท/ปี แสดงด้วยพื้นที่แรเงาดังภาพ
24