Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำ�นำ�
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำาคัญของประเทศไทย โดยเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้
ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ความก้าวหน้าของการวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยง
สัตว์กว่า 5 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการผลิตและการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์
อย่างกว้างขวาง การกำาเนิดของข้าวโพดพันธุ์ “สุวรรณ 1” ถือเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ที่สำาคัญ
ให้วงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยมีรากฐานทางพันธุกรรมที่มั่นคงและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มาตลอดระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ แม้ว่าการวิจัยและการผลิตสายพันธุ์ในยุคบุกเบิกเป็นการ
ดำาเนินการโดยภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ส่งผลต่อเนื่องมาถึงยุคที่ภาคเอกชนเป็นผู้นำาในการ
ผลิตสายพันธุ์ลูกผสมและผลิตเพื่อการค้าด้วย ภาวะการแข่งขันการใช้ทรัพยากรอย่างรุนแรง
ระหว่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และพืชแข่งขันอื่นๆ กฎหมายและระเบียบต่างๆ ที่ยังไม่สอดคล้อง
กับสถานการณ์ปัจจุบัน กอปรกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายส่งเสริมการผลิตพืชบางชนิด
ส่งผลกดดันเป็นอุปสรรคให้ผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีสถานะที่ยากลำาบากมากยิ่งขึ้น ดังนั้น
การพัฒนาวงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน จำาเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ
จากทุกฝ่าย ภายใต้มุมมองการพิจารณาแบบองค์รวมตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับไร่นา
เนื้อหาในเอกสารเล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 บท บทเริ่มต้นได้นำาเสนอความสำาคัญและเหตุผล
สู่การศึกษาวิจัย ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย อุปสรรค ปัจจัยที่มีผล
กระทบจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงกรอบการศึกษา ในบทที่ 2 ว่าด้วยการทบทวน
การพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยในห้าทศวรรษ ของพันธุ์ “สุวรรณ 1”
จากห้องปฏิบัติการ สู่การขยายตัวและการใช้ประโยชน์ ส่วนบทที่ 3 เป็นการจากประเมินผล
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมจากการพัฒนาพันธุ์ “สุวรรณ 1” สำาหรับบทที่ 4 กล่าว
ถึงการสำารวจบทบาทสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดย
อธิบายถึงสถานภาพการผลิตและความต้องการในประเทศ การขยายตัวของพืชแข่งขันและ
้
้
ผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงสถานภาพอุตสาหกรรมต้นนำาและปลายนำา อันได้แก่ อุตสาหกรรม
เมล็ดพันธุ์และอาหารสัตว์ บทที่ 5 นำาเสนอทิศทางอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทยเมื่อก้าว
เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กล่าวถึงสภาวะการค้าการลงทุน กฎระเบียบ มาตรการ
และนโยบายด้านการค้า รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อเปิด AEC และ
บทที่ 6 เป็นข้อสรุปและข้อเสนอแนะ
จุดเด่นสำาคัญของเอกสารชุดนี้ ก็คือ รวบผลงานวิจัยในอดีตมาเป็นฐานข้อมูลที่มีระบบ
ซึ่งปัจจุบันมีอยู่อย่างจำากัด อีกทั้งจะเป็นการเชิดชูเกียรติบุคลากรที่เคยสร้างคุณประโยชน์ใน
การพัฒนางานวิจัยด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอดีต ซึ่งเป็นการนำาข้อความรู้เชิงนโยบายไปขยาย
ผลให้กับสังคมและภาคเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศในวงกว้าง
อนึ่ง ข้อคิดเห็นและข้อวิจารณ์ที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ เป็นมุมมองเชิงวิชาการจาก
ผู้ศึกษาวิจัย ทั้งสถาบันคลังสมองของชาติและสำานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยมิได้มีส่วน
เกี่ยวข้องใดๆ
บรรณาธิการ
มกราคม 2558