Page 57 -
P. 57
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 39
2.4.2 มิราจ (Mirage)
มิราจเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการหักเหของแสงในบรรยากาศเมื่ออากาศเหนือ
ผิวดินมีอุณหภูมิต่างกัน จึงมีความหนาแน่นแตกต่างกันท าให้ภาพที่ปรากฏขึ้นอยู่ไกลหรือใกล้กว่า
ความเป็นจริง ดังนั้นเมื่ออากาศใกล้พื้นดินมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศด้านบน แสงจะค่อยๆ
หักเหและมีทิศทางโค้งขึ้นในทิศที่อยู่ตรงข้ามกับความโค้งของโลก (ภาพที่ 2.16) ซึ่งทิศทางของการ
เปลี่ยนแปลงความโค้งจะท าให้แสงที่สะท้อนจากวัตถุในที่ไกลมาถึงตาผู้สังเกตจากส่วนล่างของ
ระดับสายตา เนื่องจากสมองของมนุษย์สามารถรับรู้เฉพาะแสงที่มาตามเส้นทางที่เป็นเส้นตรง ท า
ให้ภาพที่ปรากฏอยู่ต ่ากว่าต าแหน่งเดิมและกลับหัว มิราจแบบนี้เรียกว่า มิราจกลับหัว (inferior
mirages) มักเกิดในบริเวณทะเลทราย แต่เมื่ออากาศใกล้พื้นดินเย็นกว่าอากาศด้านบน
ค่อนข้างมาก ดังนั้นในการมองเห็นลักษณะนี้มักเกิดขึ้นบนพื้นมหาสมุทรที่เย็นแถบบริเวณขั้วโลก
การที่อากาศเบื้องล่างเย็นกว่าอากาศเบื้องบน ท าให้แสงโค้งตามทิศทางความโค้งของผิวโลก ดังนั้น
จึงสามารถมองเห็นต้นไม้ที่อยู่ไกลๆ ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วความโค้งของผิวโลกจะบังไม่ให้เห็น
ปรากฏการณ์เดียวกันนี้ถ้ามีการหักเหมาก วัตถุหรือเรือจะเห็นลอยอยู่ในอากาศ มิราจชนิดนี้
เรียกว่า มิราจลอยฟ้า (superior mirage) (ภาพที่ 2.17) ในบางครั้งมิราจอาจมีแสงโค้งขึ้นสู่เบื้องบน
ตรงข้ามกับมิราจที่เกิดในทะเลทราย ดังนั้นภาพที่เห็นจะกลับทิศกัน ซึ่งเรียกว่า ฟาตา มอรานา
(fata morana) (ภาพที่ 2.18)
อากาศเย็น
อากาศร้อนมาก
ภาพที่ 2.16 มิราจเกิดจากอากาศใกล้พื้นดินร้อนมากและมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศ
ข้างบน