Page 254 -
P. 254

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

               236   การตรวจวัดสภาพอากาศและการแปลความหมาย







               กระเปาะชั้นในกับชั้นนอกเป็นสูญญากาศเพื่อไม่ให้ความร้อนจากกระเปาะชั้นในสูญหายไป


               หลอดแก้วมีสเกล 0 - 37 เซนติเมตร เมื่อแสงจากดวงอาทิตย์ส่องมาถูกกระเปาะ แอลกอฮอล์ใน
               กระเปาะชั้นในจะระเหยเป็นไอ  ไปสะสมเป็นหยดแอลกอฮอล์ในหลอดแก้ว  อ่านค่าความสูงของ

               แอลกอฮอล์ (ทศนิยมหนึ่งต าแหน่ง) แล้วคูณด้วยค่าคงที่ประจ าอุณหภูมิ ผลลัพธ์คือ ปริมาณแสง
                                                                           -2
                                                                                -1
               จากดวงอาทิตย์ มีหน่วยเป็นแคลอรี่ต่อตารางเซนติเมตรต่อวัน (Cal cm  day )
                            4. เครื่องบันทึกความดันอากาศ (Barograph)



                               เครื่องบันทึกความดันอากาศอาศัยการยืดหดของตลับลูกฟูกซึ่งซ้อนกัน
               ประมาณ 6-10 ตลับ เมื่อความดันอากาศเพิ่มขึ้นตลับลูกฟูกจะถูกบีบให้มีความหนาลดลง ถ้าความ

               ดันอากาศลดลงตลับลูกฟูกจะยืดออกจนมีความหนาเพิ่มขึ้น  ปลายของตลับลูกฟูกจะต่อไปยัง
               เครื่องกระเดื่องกลไกจนถึงแขนปากกา เมื่อความดันอากาศเปลี่ยนแปลงกระเดื่องของแขนปากกา

               จะเลื่อนขึ้นลง  ดึงปลายปากกาให้บันทึกค่าลงบนกระดาษกราฟที่พันรอบกระบอกลานนาฬิกา
               ต่อเนื่องกันไป ดังภาพที่ 9.5

























                                        ภาพที่  9.5  เครื่องบันทึกความดันอากาศ


                            5. เครื่องบันทึกความชื้น (Hydrograph)


                               เครื่องบันทึกความชื้นใช้เส้นผมของคนน ามาล้างด้วยโซดาไฟเพื่อเอาไขมันออก
               ก่อน น าเส้นผมมาหลายๆ เส้น ขึงให้ตึงในแนวนอน ถ้าอากาศมีความชื้นมาก เส้นผมจะยาวขึ้น ถ้า

               อากาศมีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดสั้นลง กลไกของเครื่องวัดมีคานกระเดื่องยึดติดกับแขนชี้ต่อไป
               ยังปากกา ซึ่งจะขีดลงบนกระดาษกราฟบอกค่าความชื้นสัมพัทธ์ต่อเนื่องกันไป การรายงานผลการ
               ตรวจอากาศต้องแสดงเวลาและต าแหน่งที่ตรวจไว้เสมอเพื่อความเข้าใจในสภาวะอากาศขณะนั้น
               สถานที่นั้นได้อย่างถูกต้อง ดังภาพที่ 9.6
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259