Page 236 -
P. 236

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                 218   มวลอากาศและแนวปะทะอากาศ ฤดูกาล ภูมิอากาศและภูมิอากาศโบราณ








               ศูนย์กลางมีอากาศเบาบาง  ลมสงบ  ความกดอากาศลดต ่าลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของบรรยากาศ
               ปกติ ทอร์นาโดส่วนมากจะสลายตัวเวลา 2-3 นาที และเคลื่อนที่ได้ระยะทางโดยเฉลี่ย 7 กิโลเมตร

               แต่มีบางครั้งที่เคลื่อนที่เป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรและอยู่ได้นานหลายชั่วโมง  ซึ่งทอร์นาโด

               จะเกิดขึ้นได้ตามส่วนต่างๆ ของโลก แต่บริเวณที่เกิดมากที่สุด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉลี่ย
               จะเกิดทอร์นาโดมากกว่า 700 ครั้งต่อปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ราบภาคกลาง (มีอาณาเขตจาก

               ภาคกลางมลรัฐเทกซัสถึงมลรัฐเนบราสกา)  เนื่องจากเกิดการปะทะกันของอากาศอุ่นและชื้นที่มา
               จากอ่าวเม็กซิโกกับอากาศเย็นที่มาจากเทือกเขาร็อคกี้ ท าให้เกิดการก่อตัวของทอร์นาโด ประมาณ

               3 ใน 4 ของการเกิดทอร์นาโดที่เกิดในสหรัฐอเมริกา จะเกิดในช่วงเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม เกิด
               บ่อยที่สุดในเดือนพฤษภาคมประมาณ 4 ครั้งต่อวัน และจะเกิดทอร์นาโดที่รุนแรงในเดือนเมษายน


               ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิและความชื้นในแนวดิ่งกับแนวราบแตกต่างกันมากที่สุด ทอร์นาโดเกิดขึ้นได้
               ตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่จะเกิดในช่วงเวลา 16.00 ถึง 18.00 น.





                                                                 หัวทั่ง
                  ลมระดับสูง

                                                    มีโซไซโคลน




                                                    ทอร์นาโด



                   ลมระดับต ่า
                                                                         ฐานเมฆ
                                                                                   ลมพัดออก
                   อากาศเย็นแห้ง
                                                    ลมพัดเข้า            ลมพัดเข้า
                 พื้นผิว   ทอร์นาโด   อากาศร้อนชื้น


                  ภาพที่  8.17  การปะทะกันของมวลอากาศร้อนชื้น และมวลอากาศเย็นท าให้เกิดทอร์นาโดมี

                            ลักษณะเป็นรูปกรวยคล้ายงวงช้างยื่นลงมาจากเมฆคิวมิวโรนิมบัสจนถึงพื้นผิวโลก
                            บริเวณใกล้ศูนย์กลางหมุนเร็วที่สุด

                             ที่มา  :  ดัดแปลงจาก Ahrens  (1988)


               8.4  ภูมิอากาศโบราณ



                     วิถีการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ไม่เป็นวงรีและแกนหมุนรอบตัวเองของโลกไม่เอียง

               23.5 องศาตลอดเวลา กล่าวคือ ประมาณ ค.ศ. 1920 นักคณิตศาสตร์ชาวยูโกสลาเวีย ชื่อ มิลูติน มิ
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241