Page 89 -
P. 89
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การจัดการขยะและของเสียเพื่อสิ่งแวดล้อม”
“ “การจัดการขยะและของเสียเพื่อสิ่งแวดล้อม”
ดร. สุจิณณา กรรณสูต
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของสังคมอย่างรวดเร็วเป็นที่มาของการใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้น
เมื่อขาดการให้ความรู้และจิตส านึก ในการดูแลเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม จึงท าให้ เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
มากมายจนส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนในสังคม
ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนจ านวน 15.98 ล้านตัน ในปี 2554 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก
ปี ซึ่งขยะมูลฝอยถูกน าไปใช้ประโยชน์เพียงเล็กน้อย ประมาณ 4.10 ล้านตัน เช่น การน าขยะอินทรีย์ไปผลิต
แก๊สชีวภาพ การน ากระดาษรีไซเคิลไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กระดาษเพื่อลดการตัดต้นไม้
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน ก่อให้เกิดการใช้บรรจุภัณฑ์ต่างๆ ส่งผลให้เกิดขยะรีไซเคิล
เป็นจ านวนมาก อย่างไรก็ตาม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจของประชาชนในชุมชน เช่น การเป็น
แหล่งสะสมเชื้อโรคและแมลงวันพาหะน าโรค กลิ่นเหม็นรบกวน และมลพิษทางทัศนียภาพอันไม่พึงประสงค์อีก
ด้วย
ขยะเป็นของเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตและการใช้สอยของมนุษย์ ซึ่งแบ่งประเภทของขยะมูลฝอย
ได้ 3 ประเภท ได้แก่
1. ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้
2. ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้
3. ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมีวัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ
ผลกระทบของขยะมูลฝอย
1. ปัญหากลิ่นเหม็นจากขยะมูลฝอย
2. แหล่งน้ าเน่าเสียจากการที่มีขยะปนเปื้อน
3. เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคและสัตว์น าโรคต่างๆ
4. การก าจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกหลักวิชาการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
5. ชุมชนขาดความสะอาด สวยงามและเป็นระเบียบ และไม่น่าอยู่
1
86