Page 6 -
P. 6

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







               เป็นหนึ่งในอาคารที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นอันดับต้นๆ ของหลายมหาวิทยาลัย เหตุผลสําคัญอีกประการหนึ่ง

               ที่ห้องสมุดได้รับความสนใจในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก
               บุคลากรห้องสมุดส่วนใหญ่มีความตื่นตัว เห็นความสําคัญและให้ความร่วมมือในกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์
               พลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นเพราะหลักการพื้นฐานของการบริหารจัดการห้องสมุด และหลักการ
               อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีความสอดคล้องกัน  คือ การรู้จักประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

                         การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เป็นหนึ่งในกระแสหลักของการพัฒนาห้องสมุดในปัจจุบันทั้งในประเทศ

               และต่างประเทศ โดยห้องสมุดในต่างประเทศเริ่มมีการตีพิมพ์บทความเรื่องห้องสมุดกับสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี
               ค.ศ. 1990  เรื่องห้องสมุดสีเขียวเริ่มได้รับความสนใจมาเป็นลําดับและได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในปี 2008
               เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

                      สําหรับในประเทศไทย ห้องสมุดหลายแห่งทั้งในระดับอุดมศึกษา ระดับโรงเรียน รวมถึงห้องสมุด
               ประชาชน  ได้ให้ความสําคัญร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และรณรงค์ให้ผู้ใช้บริการหันมาสนใจเรื่องการ

               อนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

                     ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                      ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนหน่วยงาน เข้าร่วมประกวดอาคารอนุรักษ์พลังงานในโครงการ Building
                      Energy Awards of Thailand 2010 : BEAT 2010


                     มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดตัว Eco-Library  แห่งแรกของประเทศไทย ที่สํานักหอสมุด เมื่อวันที่
                      27  มกราคม 2555  โดย KU  Eco-Library  เป็นห้องสมุดต้นแบบเพื่อการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์
                      สิ่งแวดล้อมผ่านสื่อความรู้ และผ่านการสัมผัสจริงจากงานออกแบบสร้างสรรค์บนเส้นทางสีเขียว ที่เป็น

                      Green  Design ด้วยการใช้วัสดุ Reuse และ Recycle

                     กรุงเทพมหานคร เปิดตัวห้องสมุดสีเขียวแห่งแรกในประเทศไทย ณ สวน 60  พรรษา สมเด็จพระนาง
                      เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง  เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 โดยเป็นอาคารห้องสมุดที่ได้รับ
                      การรับรองมาตรฐานประกาศนียบัตรระดับ LEED  Platinum  จาก LEED  (Leadership  in

                      Environmental Design) และกําลังจะตามมาด้วยห้องสมุดสีเขียวแห่งที่ 2 ในสวนสราญรมย์

                     ผู้บริหารห้องสมุดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จํานวน 19  หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ
                      ด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว  ในพิธีเปิดการฝึกอบรมเรื่อง Green Library : การบริหาร
                      จัดการห้องสมุดสีเขียว   เมื่อวันที่ 25  มิถุนายน 2557    ณ อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ สํานักหอสมุด

                      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

                     ห้องสมุดอีกหลายแห่งกําลังเดินหน้าวางแผนพัฒนาห้องสมุดสีเขียว

                      ด้วยเหตุที่ อาคารของห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่า โดยเฉลี่ยมีอายุไม่ต่ํากว่า 20  ปี ทั้งโครงสร้าง
               และระบบภายในอาคารจึงไม่เป็นไปตามมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  การปรับเปลี่ยน
               โครงสร้างและระบบภายในอาคารให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาคารเขียวจึงเป็นเรื่องยาก แต่การที่จะได้รับ

               อนุมัติให้สร้างอาคารห้องสมุดใหม่ที่เป็นไปตามมาตรฐานอาคารเขียวยิ่งเป็นเรื่องยากกว่า เนื่องด้วยข้อจํากัด
               ของงบประมาณ ประกอบกับห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่มักจะถูกจัดลําดับความสําคัญไว้ทีหลังเสมอ ดังนั้น แนว







                                                            3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11