Page 5 -
P. 5
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว
การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว
ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ
ผู้อํานวยการสํานักหอสมุด
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ห้องสมุดกับปัญหาสิ่งแวดล้อม
ปัญหาภัยพิบัติเกิดขึ้นทั่วโลกและทวีความรุนแรงขึ้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย
การไม่รู้จักอนุรักษ์และฟื้นฟูเพื่อสร้างสมดุลให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ ล้วนเป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน ทั้งปัญหาขยะ
ซึ่งมีปริมาณ 1,300 ล้านตันต่อปี และจะเพิ่มขึ้นอีก 70% ภายในเวลา 10 ปี รวมทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน
ชั้นบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่พื้นที่ป่าไม้ทั่วโลกลดลงประมาณ 877 ล้านไร่ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
มหาอุทกภัยในปี 2554 ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้กับประเทศไทย มีประชาชนได้รับผลกระทบ
กว่า 12.8 ล้านคน มูลค่าความเสียหายสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท ปรากฏการณ์ความเสียหายดังกล่าวได้ย้ําเตือน
และแสดงให้เห็นถึงการขาดความตระหนักรู้และการขาดความรู้ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม
การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่การแก้สิ่งแวดล้อมหรือการควบคุมสิ่งแวดล้อม เนื่องจากคนเป็นผู้
ที่มีส่วนสําคัญในการทําลายสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่คน การแก้ปัญหาที่คนต้องแก้โดยการสร้าง
ปัญญา การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง มนุษย์จึงต้องรู้จักรักษา
สิ่งแวดล้อมและอยู่กับธรรมชาติได้อย่างสมดุล ปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหนึ่ง
การแก้ปัญหาต้องดําเนินการแบบองค์รวม และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกองค์กร ทุกภาคส่วน ในการ
ช่วยกันรณรงค์และปลุกจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
ห้องสมุดมีหน้าที่สนับสนุนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เป็นแหล่งความรู้ที่เปิดโอกาสให้
ประชาชนเข้าถึงความรู้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ห้องสมุดจึงมี
บทบาทสําคัญในการร่วมแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ด้วยการเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความ
ถูกต้องเชื่อถือได้ ร่วมกับการปลุกจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ใน
รูปแบบต่างๆ ห้องสมุดจึงเป็นอีกหนึ่งส่วนงานที่บทบาทในการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของชุมชนและ
สังคม
ในปัจจุบัน ห้องสมุดได้รับความสนใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาก
ขึ้น เนื่องจากห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นทั้งศูนย์รวมและศูนย์กระจายความรู้ของชุมชน แม้ว่าห้องสมุดจะ
ไม่ได้เป็นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นแหล่งเผาผลาญพลังงานหรือเป็นแหล่งสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม เหมือนเช่น
โรงงานอุตสาหกรรม แต่พลังงานไฟฟ้าที่ห้องสมุดหลายแห่งใช้ มีปริมาณมากกว่าพลังงานที่หน่วยงานทั่วไปใช้
3-4 เท่าตัว โดยเฉพาะห้องสมุดมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ที่มีการเปิดบริการ 7 วัน และเปิด 24 ชั่วโมงในช่วง
สอบ ด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีผู้ใช้บริการจํานวนมาก มีชั่วโมงที่ต้องเปิดทําการมากกว่า และมีพื้นที่ใช้สอยที่เปิด
ให้บริการตลอดเวลามากกว่าพื้นที่การเรียนการสอน ซึ่งเปิดใช้เป็นบางพื้นที่ในบางเวลา จึงส่งผลให้ห้องสมุด
2