Page 34 -
P. 34

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี







               มาตรการที่ 7 ติดตั้งอุปกรณ์ชุดระเหยน้ํา ช่วยระบายความร้อน


                      เพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยใช้ระบบ  Evaporative cooling

               เมื่ออากาศร้อนจากภายนอกที่ถูกดูดผ่านพัดลมเข้ามาในเครื่อง ได้ผ่าน  Cooling Pad (แผงทําความเย็น)
               ที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยน้ํา น้ําที่เกาะอยู่ที่ Cooling  Pad  จะทําการดูดซับความร้อนจากอากาศที่ผ่านเข้ามาเพื่อไป

               ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของน้ําให้กลายเป็นไอ มีผลให้อากาศมีอุณหภูมิลดลง อากาศหรือลมที่ผ่านออกมาจึงมี

               ความเย็น โดยอุณหภูมิลดลงได้ถึง 5  °C ช่วยลดภาระการทํางานของระบบทําน้ําเย็นที่ระบายความร้อนด้วย
               อากาศ (Air Cooler Water Chiller) ได้เป็นอย่างมาก



               มาตรการที่ 8 อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบ (Variable Speed Drives: VSD)


                      ควบคุมแรงดันในระบบโดยการควบคุมความเร็วรอบของปั๊มน้ําเย็นและปั๊มของน้ําระบายความร้อน

               เพื่อให้แรงดันไม่เกินกว่าที่ต้องการได้ จะทําให้สามารถประหยัดพลังงานได้ เนื่องจากปั้มน้ําเย็นของเครื่องทําน้ํา
               เย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ําจ่ายน้ําให้กับเครื่องส่งลมเย็น (AHU) ซึ่งมีการควบคุมอัตราการไหลโดยการใช้

               2-ways valve ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ ดังนั้น เมื่อมีการปรับวาล์วจะทําให้เกิดแรงดันเกินในระบบน้ําเย็น ผลต่าง
               ของอุณหภูมิขาเข้า-ขาออกด้านคอนเดนเซอร์ของเครื่องทําน้ําเย็นชนิดระบายความร้อนด้วยน้ํามีค่าประมาณ

                                                                        o
                o
               6 F ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐานค่อนข้างมาก (ค่ามาตรฐานเท่ากับ 10-12 F) เนื่องจากปริมาณของน้ําระบายความ
               ร้อนที่มากเกินไปทําให้การถ่ายเทความร้อนระหว่างสารทําความเย็นและน้ําระบายความร้อนไม่ดีเท่าที่ควร

               มาตรการที่ 9 ใช้เทคโนโลยี Ozone


                      ใช้โอโซนในการปรับปรุงคุณภาพน้ําใน Cooling Tower ของระบบปรับอากาศ  เนื่องจากน้ําในหอผึ่ง

               น้ํา (Cooling  Tower)  ที่ถูกหมุนเวียนไปใช้ระบายความร้อน ซึ่งเป็นตัวระบายความร้อน  มักจะมีการ

               เจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิด Biofouling  และการกัด
               กร่อนซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ (Microbiologically  Influenced  Corrosion  หรือ MIC)  ขึ้น ซึ่งมีผลให้

               ประสิทธิภาพของระบบต่ําลง การใช้โอโซนเป็นตัว Oxidizing  Bioside  สามารถฆ่าแบคทีเรีย ไวรัส และพวก
               สาหร่ายต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมี เมื่อติดตั้งระบบโอโซนสามารถประหยัดพลังงานได้ 174,431 บาทต่อปี

               โดยลงทุนประมาณ 750,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 4.30 ปี


               มาตรการที่ 10 ลดการรั่วไหลของอากาศเย็นจากกรอบอาคาร

                      ปิดช่องว่างของหน้าต่างเพื่อลดการรั่วไหลของอากาศเย็นออกสู่ภายนอก เนื่องจากกรอบวงกบหน้าต่าง
               ไม้ที่ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน มีการโก่งงอ เกิดช่องว่างระหว่างบานหน้าต่างและวงกบ อากาศเย็นภายใน
               อาคารรั่วไหลออกไปภายนอกอาคารจํานวนมากเท่ากับขนาดทําความเย็น 10 TR โดยการทําหน้าต่างบานใหม่

               ปิดทับด้านในอาคาร








                                                           31
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39