Page 201 -
P. 201
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
copy right copy right copy right copy right
189
การผลิตเซลโลเฟนด้วยกระบวนการ Viscous process ใช้เยื่อกระดาษที่มีเซลลูโลสสูง นิยมใช้
เยื่อซัลไฟต์ที่ผ่านการฟอกสีมาแล้ว นํามาละลายใน Schweizer’s reagent หรือ Cuprammonium
hydroxide [Cu(NH 3) 4](OH) 2 โดยมีด่างช่วยทําให้เซลลูโลสบวม เพื่อจะดูดซึมตัวทําละลายง่ายขึ้น
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
บ่มให้สายโซ่เซลลูโลสสั้นลงจนได้ DP ประมาณ 500 เพื่อลดความหนืดของของผสม หลังจากนั้น
เติมคาร์บอนซัลไฟด์ (CS 2) เพื่อทําปฏิกิริยากับเซลลูโลสซึ่งยังไม่ละลายแต่บวมพอง จะได้เป็น
เซลลูโลสเซนเทต (Cellulose xanthate) ซึ่งละลายได้ดีในด่าง NaOH
copy right copy right copy right copy right copy right copy right
สารละลายเซลลูโลสเซนเทตต้องผ่านการบ่มอีกครั้งมิฉะนั้นฟิล์มที่ได้จะไม่ใส สารละลายที่ได้เป็น
ของเหลวหนืด เรียกว่า Viscous นําไปขึ้นรูปเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดรีดและใช้ดายประเภท T-die
หรือ Slit die แผ่นฟิล์มจะถูกหล่อออกจากดายลงบนผิวลูกกลิ้งหล่อเย็นที่จุ่มในสารละลายโซเดียม
ซัลเฟต ร้อยละ 10-20 และกรดซัลฟูริกร้อยละ 10-15 หมู่เซนเทตจะถูกแทนที่ด้วยหมู่ไฮดรอกซิล
เป็นการเปลี่ยนเซลลูโลสเซนเทตเป็นเซลลูโลส
ฟิล์มเซลลูโลสที่ได้นําไปฟอกสีและเติมสารเสริมสภาพพลาสติกเพื่อลดความกรอบของฟิล์ม ได้แก่
กลีเซอรอล เอทิลีนไกลคอล ยูเรีย เป็นต้น และนําไปอบแห้ง ความชื้นควรมีค่าประมาณร้อยละ 7.5
หากแห้งเกินฟิล์มจะกรอบ
9.2 คุณสมบัติและการใช้งานทางการบรรจุของเซลโลเฟน
้
เซลโลเฟน เป็นฟิล์มที่มีความใสสูงมากและมันวาวสวยงาม ปองกันการซึมผ่านของก๊าซและทนทาน
ต่อไขมันได้ดีมากขณะแห้ง แต่ไวต่อความชื้นและดูดซับนํ้าได้ดี ซึ่งทําให้คุณสมบัติปองกันการซึม
copy right copy right copy right copy right
้
ผ่านและความแข็งแรงลดลง เซลโลเฟนเหมาะที่จะใช้กับการพิมพ์ เซลโลเฟนสามารถย่อยสลายได้
ทางชีวภาพ
เซลโลเฟนที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมักจะต้องผ่านการเคลือบมาก่อน เพื่อให้ปิดผนึกด้วยความ
ร้อนได้และเพิ่มความต้านทานต่อความชื้น นิยมเคลือบด้วย PVDC หรือ Nitrocellulose อาจจะ
เคลือบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อความชื้นและให้ปิดผนึกด้วยความร้อน
ได้ ในอุตสาหกรรมมักเรียกเซลโลเฟนด้วยรหัส ตามคุณภาพและการใช้งาน ที่สําคัญได้แก่
S หมายถึงเซลโลเฟนที่ปิดผนึกด้วยความร้อนได้
B หมายถึงเซลโลเฟนทึบแสง (Opaque)
C หมายถึงเซลโลเฟนแต่งสี
P หมายถึงเซลโลเฟนธรรมดา ไม่ปองกันความชื้น
้
copy right copy right copy right copy right