Page 187 -
P. 187
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
15-5
นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของรัฐบาลคณะที่ 20 ต่อรัฐสภา
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2491 มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรดังนี้
“6) จะบ ารุงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยเร่งปราบโรคระบาดสัตว์โดยกวดขันหา
และทดลองปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ กับพิจารณาหาพันธุ์สัตว์ที่ดีและทนทานต่ออากาศของประเทศไทย
ทั้งนี้ ในทางวิชาการจะได้พิจารณาจัดตั้ง สภาการเกษตรขึ้น และร่วมมือกับองค์การ F.A.O.” (ราชกิจจา
นุเบกษา เล่ม 65 ตอนที่ 14 หน้า 870 วันที่ 9 มีนาคม 2491)
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ภายหลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492
แล้ว ได้แถลงนโยบายของรัฐบาล คณะที่ 22 ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 มีข้อความเกี่ยวกับ
การเกษตร ดังต่อไปนี้
“1. จัดการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทั้งในส่วนที่เป็นที่อยู่
อาศัย และที่ประกอบการท ามาหากินของตนเอง
2. จะบ ารุงส่งเสริมการผลิตพืชผลต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์ให้ทวีคุณภาพและ
ปริมาณยิ่งขึ้น”(ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540: 122)
วันที่ 18 กรกฎาคม 2493 กรมเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือที่ น.ว. 151/2493
เรื่อง ให้เร่งท าสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ ถึงกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้ด าเนินการตามความเห็นของ
นายกรัฐมนตรีโดยมีสาระส าคัญว่า เพื่อที่จะให้การครองชีพของประชาชน เฉพาะอย่างยิ่งในด้านเครื่องบริโภค
ได้อยู่ในระดับที่สมควร แม้พลเมืองจะได้เพิ่มขึ้นก็ตาม ประกอบทั้งสถานการณ์ทั่วๆ ไปรอบประเทศในขณะนี้
อาจเป็นมูลเหตุให้ราคาเครื่องบริโภคทวีขึ้น หรือถึงกับขาดแคลนลงได้ หากไม่ส่งเสริมและเร่งรัดการจัดหาไว้ให้
เพียงพอ ฉะนั้นเพื่อเป็นการเตรียมตัวไว้ต้อนรับสถานการณ์ให้มีเครื่องบริโภคพอเพียงและตรึงราคาไว้ในระดับที่
สมควรตลอดไป จึงมีค าสั่งให้แจ้งมายังกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือได้ช่วยกันเร่งรัดการท า
สวนครัวและเลี้ยงสัตว์ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ก็จะเป็นการช่วยประเทศชาติได้เป็นอย่างดีในยามนี้
จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายของรัฐบาล คณะที่ 25
ต่อสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2495 มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ดังนี้
“ค) ขยายส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพของประชาราษฎร์ในการผลิตพืช
พันธุ์ธัญญาหารส าหรับมนุษย์และสัตว์ ตลอดทั้งการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นผลดี ดังเช่นการชลประทาน ปุ๋ย พันธุ์
พืช พันธุ์สัตว์ เหล่านี้เป็นต้น” (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2540: 136)
ใน พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อกรมเกษตรเป็นกรมการกสิกรรม และกรมปศุสัตว์และ
สัตว์พาหนะเป็นกรมการปศุสัตว์ พร้อมกับตั้งกรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ขึ้นอีกกรมหนึ่ง เพื่อด าเนินการ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และแยกกรมสหกรณ์ไปสถาปนาเป็นกระทรวงใหม่ เรียกว่า กระทรวงการสหกรณ์