Page 183 -
P. 183
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
15-1
เรื่องที่ 15
นโยบายปศุสัตว์และเหตุการณ์ที่ส าคัญ
การพัฒนาด้านปศุสัตว์ได้เริ่มด าเนินการในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434 ได้มีนโยบายและ
เหตุการณ์ที่ส าคัญเรียงตามล าดับเวลาดังนี้
ในปี พ.ศ. 2434 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ รศ. 110 ขึ้น โดยพระราชด าริที่จะ
ป้องกันโจรผู้ร้าย ลักช้าง ม้า โค กระบือ ให้รัดกุมดีขึ้น ตลอดจนปรับปรุงภาษีสัตว์พาหนะบรรทุกออกไป
ต่างประเทศ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2535: 5)
วันที่ 1 เมษายน 2435 ได้มีการปรับปรุงกรมนาขึ้นเป็น “กระทรวงเกษตรพนิชการ” โดยมี
ข้อความปรากฎในประกาศกระแสพระบรมราชโองการความว่า “… กระทรวงเกษตรธิการที่ได้บังคับการโรง
ภาษีสินค้าเข้าออกนั้น ให้ยกไปขึ้นกระทรวงการคลัง ให้คงแต่เกษตรพานิชและเกษตรกร ...” (กระทรวง
เกษตรและสหกรณ์, 2525:6) ซึ่งมีหน้าที่หลักดังนี้
“(1) มีน่าที่ ที่จะต้องคิดจัดการให้ที่ดินซึ่งเปนป่าดงพงแขมรกร้างว่างเปล่าอยู่ไม่เปน
ประโยชน์ ให้มีผู้เลิกรั้งกลับเปนที่มีประโยชน์ขึ้น
(2) มีน่าที่ ที่จะต้องวิดน้้าเข้านา (เมื่อเวลาน้้าน้อย) ขุดบึง, บาง, คลอง แลไขนา
(เมื่อน้้ามากเกินความต้องการของการท้านา)
(3) มีน่าที่เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะ คือ โคกระบือซึ่งเปนก้าลังอันส้าคัญของการเพาะปลูกแต่เดิมมา
(4) มีน่าที่ส้าหรับปลงกฎ เรียกหางเข้าค่านา
(5) มีน่าที่ส้าหรับพระราชทานที่ดินแก่สาสนาแลบุคคล
(6) มีน่าที่ส้าหรับระงับการวิวาทในเรื่องที่ดิน
(7) ตั้งกรรมการนาออกไปอยู่ประจ้าตามหัวเมือง ส้าหรับรักษาการอันกล่าวมาแล้ว
ในข้อต่างๆ ข้างต้น” (เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์, 2484: 35)
พ.ศ. 2457 กิจการปศุสัตว์ได้ขยายกว้างขวางขึ้น จึงมีการจัดตั้งโรงเรียนสัตว์แพทย์ขึ้นใน
กรมเพาะปลูก
ใน พ.ศ. 2457 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2457 มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์บัญญัติไว้ ใน
มาตรา 122 ดังนี้
“มาตรา 122 ที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ คือ ที่เลี้ยงปศุสัตว์ที่จัดไว้ส าหรับราษฎรไปรวม
เลี้ยงด้วยกัน เป็นต้นตลอดจนถนนหนทางและที่อย่างอื่นซึ่งเป็นของกลางให้ราษฎรใช้ได้ด้วยกัน เป็นหน้าที่
ของกรมการอ าเภอจะต้องคอยตรวจตรารักษาอย่าให้ผู้ใดเกียดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว”