Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยเรื่อง “พลวัตนโยบายการเกษตรของไทย : ความเป็นมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน” มีวัตถุประสงค์หลัก 3
ด้าน คือ (1) เพื่อรวบรวมนโยบายการเกษตรของไทยด้านต่างๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเหตุการณ์
ส าคัญๆที่น าไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรของไทย (3) เพื่อจัดท าเป็นฐานข้อความรู้ให้อนุชนรุ่นต่อๆ ไปได้ใช้ใน
การค้นคว้าอ้างอิง
รายงานโครงการวิจัยเรื่องนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนๆ แรกจะเป็นการทบทวนนโยบายการเกษตรในภาพรวม ตั้งแต่
สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1762 จนถึง พ.ศ. 2556 จากจดหมายเหตุ หนังสือ รายงาน บทความทางวิชาการกฎหมาย มติ
คณะรัฐมนตรี ค าแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับต่างๆ แผนพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
การเกษตรที่ส าคัญบางเรื่องไว้ด้วย บทสุดท้ายของรายงานส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยและเหตุการณ์ที่น าไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรของไทย ทั้งกรณีจากปัจจัยจากต่างประเทศ และปัจจัยภายในประเทศซึ่งพบว่า กรณีของ
ปัจจัยจากต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการเกษตรให้เป็นไปตามที่ได้มีข้อตกลงไว้ทั้งในลักษณะทวิ
ภาคีและพหุภาคี ส่วนกรณีปัจจัยภายในประเทศนั้น เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเกษตรมาอย่างต่อเนื่องอัน
ยาวนานท าให้มีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมประเด็นต่างๆ มากมายมีความสลับซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง การวิเคราะห์เพื่อหา
สาเหตุและปัจจัยที่ท าให้มีการเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเกษตรจึงมีขอบเขตที่กว้างขวางตามไปด้วย การวิเคราะห์ปัจจัย
ภายในประเทศในครั้งนี้จึงได้ใช้ “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง (Evidence)” เป็นหลักโดยใช้ปัจจัย 5 ประการคือ (1) การเมือง
(Political) (2) เงื่อนไขทางสังคม (Social) (3) งบประมาณของรัฐ (Financial) (4) วิชาการ (Technical) และ (5) ระบบราชการ
(Bureaucracy) มาวิเคราะห์ว่าจะมีปัจจัยใดที่เป็นสาเหตุในการเปลี่ยนแปลงนโยบายเกษตรโดยแท้จริง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
จริงที่น ามาใช้ในการวิเคราะห์ได้แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรที่มาจากปัจจัย
วิชาการ กลุ่มที่ 2 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรที่มาจากปัจจัยเงื่อนไขทางสังคม กลุ่มที่ 3 การเปลี่ยนแปลงนโยบาย
การเกษตรที่มาจากนโยบายของพรรคการเมืองหรือรัฐบาลที่แตกต่างกัน กลุ่มที่ 4 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรที่มา
จากปัจจัยงบประมาณของรัฐ และกลุ่มที่ 5 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเกษตรที่มาจากระบบราชการ
จากการวิเคราะห์โดยการใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว พบว่าปัจจัยที่ท าให้นโยบายการเกษตรมีการ
เปลี่ยนแปลงนั้น ถึงแม้ว่าจะมิใช่เกิดขึ้นจากปัจจัยด้านใดด้านหนึ่งและอาจจะมาจากผลรวมของปัจจัยหลายปัจจัยก็ตาม
แต่ปัจจัย “การเมือง” จะมีน้ าหนักมากที่สุดเพราะเป็นปัจจัยที่จะเป็นตัวตัดสินและก าหนดเป็นนโยบายในที่สุด
ในส่วนที่สองจะเป็นการน านโยบายและเหตุการณ์ที่ส าคัญที่ทบทวนไว้แล้วในส่วนที่ 1 มาจัดเป็นนโยบายเฉพาะ
เรื่อง รวม 18 เรื่อง ได้แก่ (1) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร (2) นโยบายที่ดินเพื่อการเกษตร (3) นโยบายการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรมในประเทศไทย (4) นโยบายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (5) นโยบายการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
(6) นโยบายการก าหนดเขตเหมาะสมส าหรับการปลูกพืช (Zoning) (7) นโยบายน้ าเพื่อการเกษตร (8) นโยบายปุ๋ย (9) นโยบาย
ข้าว (10) นโยบายยางพารา (11) นโยบายมันส าปะหลัง (12) นโยบายอ้อยและน้ าตาลทราย (13) นโยบายการปลูกพืชพลังงาน
แทนพืชอาหาร (14) นโยบายเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม (15) นโยบายปศุสัตว์ (16) นโยบายการประมง (17) นโยบายเกษตร
ต่างประเทศและ (18) นโยบายการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ
ฒ