Page 101 -
P. 101

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                             96





                และซีกขวาต่างกัน คือ จะมีตาอยู่ทางซีกเดียวของหัวด้านใดด้านหนึ่ง
                        ลําตัวของปลากระดูกแข็งอาจจะมีเกล็ด (scale) หรือไม่มีเกล็ด ปลา

                บางชนิดเกล็ดอาจเปลี่ยนรูปไปเป็นหนาม เกราะ หรือแผ่นกระดูก เป็นต้น

                ปาก (mouth)  ของปลา  ประกอบด้วยขากรรไกรบน (maxilla  หรือ upper

                jaw) และขากรรไกรล่าง (mandible หรือ lower jaw) รูจมูก (nostril) มี 1-2 คู่

                ตา (eye) มีขนาดแตกต่างกัน และมีที่ตั้งไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปลาแต่ละชนิด

                ครีบของปลา มีทั้งครีบคู่และครีบเดี่ยว ครีบคู่ประกอบด้วย ครีบหู (pectoral

                fin) และครีบท้อง (pelvic fin) ส่วนครีบเดี่ยวประกอบด้วย ครีบหลัง (dorsal

                fin) ครีบหาง (caudal fin) และครีบก้น (anal fin) ปลาบางชนิด อาจมีครีบ

                ไขมัน (adipose fin)  เช่น ปลาอีกง ปลากดขี้ลิง เป็นต้น ปลาส่วนใหญ่จะมี

                อวัยวะรับความรู้สึกอยู่ด้านข้างของลําตัว เรียกว่า เส้นข้างตัว (lateral  line)

                และมีเกล็ดในแนวข้างตัวซึ่งมีรูหรือท่อเป็นทางติดต่อให้นํ้าภายนอกผ่านไป

                สัมผัสกับอวัยวะรับความรู้สึกภายใน เรียกว่า เกล็ดบนเส้นข้างตัว (lateral

                line scales) สําหรับบนหัวมีอวัยวะรับความรู้สึกอยู่ใต้ผิวหนัง เหนือตา ใต้ตา

                และบนกระพุ้งแก้ม ปลามีช่องเปิดถ่ายของเสียโดยจะขับออกทางรูก้น (anus

                หรือ vent)  ซึ่งมักอยู่ทางด้านหน้าของครีบก้น (วิมล, 2540;  คณะประมง,

                2541; Carpenter and Niem, 1999a)
                        การวัดขนาดของตัวปลา นิยมวัดขนาดของความยาวมาตรฐาน


                (standard length : SL) โดยวัดจากปลายสุดของจะงอยปากบนไปยังฐาน

                ครีบหางบริเวณตอนปลายของกระดูก hypural plate ซึ่งสามารถกําหนดได้

                อย่างคร่าวๆ ณ ตําแหน่งที่เกิดเป็นรอยหักเมื่อยกครีบหางขึ้น (Hubbs and

                Largler, 1967)
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106