Page 5 -
P. 5

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว












                   คำนิยม









                     ...ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในการ
               ลดความยากจน อย่างไรก็ดีปัญหาความยากจนยังมีมากในชนบทอีสานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               ในครัวเรือนที่ประกอบอาชีพทำนาและเกษตรกรรม สะท้อนถึงปัญหาการกระจายรายได้
               ที่ไม่เท่าเทียม ...

                     ข้อความที่ยกมาจากหนังสือเล่มนี้ บ่งชี้ชัดเจนถึงปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยซึ่งนำไปสู่

               ประเด็นความเหลื่อมล้ำ ก่อเกิดเป็นความรุนแรงทางสังคม ดังปรากฏในปัจจุบัน
                     สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้เห็นความจำเป็นในการสร้างฐานความรู้

               ในมิติต่างๆ ด้านการผลิต การค้า การตลาด การจัดการเชิงนโยบาย รวมถึงภาวะรายได้
               การจัดการรายได้และหนี้สินครัวเรือนเกษตรกร เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารเศรษฐกิจ
               ข้าวไทย  สร้างชุดความรู้เพื่อการพัฒนาระยะยาวลดทอนความเสี่ยงและขจัดปัญหาเกี่ยวกับ
               เศรษฐกิจข้าวไทยทั้งระบบ โดยการสนับสนุนการวิจัยชุดโครงการ “เฝ้ามองนโยบายเกษตรไทย”
               มี รศ.สมพร อิศวิลานนท์ สังกัดสถาบันคลังสมองของชาติรับผิดชอบดำเนินการ

                     ผลการศึกษาวิจัยของ คุณอานันท์ชนก สกนธวัฒน์ เป็นกรณีศึกษาสำคัญที่จะช่วยให้
               ผู้เกี่ยวข้องได้ปรับทัศนคติมุมมองต่อความยากจนของเกษตรกรเชิงพลวัตเพื่อการกำหนดท่าที
               และนโยบายอย่างเหมาะสมต่อไป

                     สกว. ขอขอบคุณ คุณอานันท์ชนก สกนธวัฒน์ ที่ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยโดยใช้ระเบียบ

               วิจัยที่เข้มข้นแม่นยำสร้างความรู้ใหม่และขอขอบคุณ รศ.สมพร อิศวิลานนท์ และ ดร.ปิยะทัศน์
               พาฬอนุรักษ์ ที่กรุณาเป็นบรรณาธิการจัดทำเนื้อหาการวิจัยให้เป็นเอกสารเผยแพร่อย่างเป็นระบบ
               เพื่อที่ผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าถึงได้





                                                          รศ.ดร.จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ
                                                             ผู้อำนวยการฝ่ายเกษตร
                                                         สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10