Page 4 -
P. 4

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







 พลวัตของความยากจน:

 กรณีศึกษาครัวเรือนชาวนาในพื้นที่เขตชนบท
 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย                                          คำนำ








                            ชาวนาในอดีตได้รับการขนานนามว่าเป็นกระดูกสันหลังของประเทศ เพราะนอกจากจะ
                      ประกอบอาชีพในการผลิตข้าวที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรในประเทศแล้ว ข้าวยังเป็นสินค้า
                      เกษตรส่งออกที่สำคัญของประเทศอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันกลับพบว่าผู้ประกอบอาชีพทำนา
                      ดังกล่าว มักจะได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำและตกอยู่ในภาวะยากจน

                            เนื้อหาในเล่มนี้ ได้นำเสนอความยากจนของครัวเรือนชาวนาในบริบทเชิงพลวัต โดยอาศัย
                      ข้อมูลการสำรวจครัวเรือนชาวนาในปี 2531 และปี 2552 มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา โดยมีกรอบ
                      แนวคิดว่า คนจนไม่ได้จนอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เมื่อเวลาผ่านไป คนจนอาจก้าวพ้นปัญหาความ

                      ยากจนที่เคยเผชิญอยู่ได้ แต่ในอีกลักษณะหนึ่งคนที่ไม่ได้เป็นคนจนในเวลาหนึ่งแต่กลับต้องเผชิญกับ
                      ปัญหาความยากจนเมื่อเวลาผ่านไป การสร้างข้อความรู้เพื่อการอธิบายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
                      ดังกล่าว จะทำให้เข้าใจถึงสาเหตุของการที่บุคคลต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนของครัวเรือน
                      ชาวนาได้ดียิ่งขึ้น

                            เอกสารเล่มนี้มีจุดเด่นที่ได้ผสมผสานระหว่างวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณและการวิเคราะห์
                      เชิงคุณภาพ เพื่ออธิบายกลไกการเกิดพลวัตความยากจน โดยมีข้อค้นพบว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
                      ครัวเรือนชาวนาไทยในสัดส่วนที่สูงได้หลุดพ้นจากความยากจน มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ที่ไม่สามารถ
                      ก้าวให้หลุดพ้นจากความยากจนได้

                            เนื้อหาและข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารเล่มนี้ ได้ปรับปรุงจากรายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง
                      “โครงการศึกษาพลวัตของความยากจน: กรณีศึกษาครัวเรือนชาวนาในพื้นที่เขตชนบทภาค
                      ตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของไทย” ที่คุณอานันท์ชนก สกนธวัฒน์ ได้จัดทำเป็นรายงาน
                      เสนอไว้ต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ภายใต้รหัสสัญญาเลขที่ RDG5320046 ทั้งนี้
                      เพื่อการจัดเผยแพร่งานการศึกษาวิจัยให้เกิดประโยชน์กับกับสาธารณะ





                                                                         บรรณาธิการ

                                                                        มกราคม 2555
   1   2   3   4   5   6   7   8   9