Page 14 -
P. 14

โครงการหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว










                         หากแต่ เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลง
                         โครงสร้างเศรษฐกิจ  รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมและ
                         สิ่งแวดล้อม ดังที่นักวิชาการหลายท่านได้วิเคราะห์และจากรายงาน

                         ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ  พ.ศ. 2550  ที่กล่าวว่า
                         มีความไม่สมดุลเกิดขึ้นในหลายมิติ  ซึ่งอาจสรุป

                         ในเรื่องที่สำคัญๆ ได้ ดังนี้


                     1


                         ความไม่สมดุลด้านการกระจายรายได้



                         โดยปกติแล้วในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา รายได้ของประชาชน

                         ในประเทศที่กำลังพัฒนามักจะมีความแตกต่างกันสูงมาก  แต่

                         ในระยะต่อมาแนวโน้มดังกล่าวจะเปลี่ยนไป แต่สำหรับกรณีของ
                         ประเทศไทยนั้น เป็นเวลาถึง 40 กว่าปีแล้ว ที่ความไม่เท่าเทียมกัน

                         ของรายได้มีแนวโน้มที่กลับจะเพิ่มขึ้น  ดังจะเห็นได้จากข้อมูล

                         การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน  โดยสำนักงาน
                         สถิติแห่งชาติ พบว่า กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงหรือกลุ่มคนรวย

                         ที่สุด 20  เปอร์เซ็นต์แรก  มีสัดส่วนของรายได้ต่อรายได้ของ

                         คนทั้งประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 49.3 เมื่อ พ.ศ. 2519 เป็นร้อยละ

                         54.9 ใน พ.ศ. 2551 ในขณะที่กลุ่มคนยากจนที่สุดของประเทศ

                         20  เปอร์เซ็นต์หลัง  มีสัดส่วนของรายได้ลดลงจากร้อยละ 6.1
                         เหลือเพียงร้อยละ 4.4 ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยกลุ่มอาชีพที่ยากจน

                         ที่สุดเป็นกลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ









       10
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19