Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว























                                ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสัดส่วนของประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจน

                                จะลดลงมาก แต่จำนวนตัวเลข 5 ล้านคนก็ยังเป็นตัวเลขที่มาก
                                และผู้ที่อยู่เหนือเส้นระดับความยากจนแบบคาบเส้นก็มีแนวโน้ม

                                ที่จะเรียกตัวเองว่ายากจนอยู่ ดังนั้น ปัญหาความยากจนจึงมิใช่
                                ปัญหาที่กล่าวได้ว่าหมดไปจากประเทศไทย





                                อย่างไรก็ตาม หากวัดกันตามมาตรฐานการพัฒนา
                                ที่ใช้กันโดยทั่วไปแล้ว  ประเทศไทยถือว่ามีความสำเร็จเป็น

                                อย่างสูง เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในสถานะกำลังพัฒนา
                                ในการลดปัญหาความยากจนของประชากร








                                 1
                                  เส้นความยากจน (Poverty Line) เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความยากจนเชิงเศรษฐกิจหรือรายได้
                                 โดยวัดจากการขาดแคลนรายได้ที่เพียงพอสำหรับบริโภคอาหารเพื่อการยังชีพและความต้องการสินค้า
                                 พื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งจะปรับเปลี่ยนไปทุกปีตามสภาวะเศรษฐกิจ จากคำนิยามนี้
                                 คนยากจน หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ต่อคนต่อเดือนต่ำกว่าเส้นความยากจน  เช่น ใน พ.ศ. 2531
                                 เส้นความยากจนอยู่ที่ระดับ 633 บาทต่อคนต่อเดือน พ.ศ. 2539 เพิ่มขึ้นเป็น 953 บาทต่อคนต่อเดือน
                                 และ พ.ศ. 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1,443 บาทต่อคนต่อเดือน








                                                                                          9
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18