Page 6 -
P. 6

งานอนุรักษ์ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์







                 ปี พ.ศ. ๒๕๕๗ หลังจากที่ธนาคารทหารไทยและที่ท าการไปรษณีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ย้ายที่

         ท าการไปที่ใหม่ ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจถูกปล่อยร้างไว้ประมาณ ๓ ปี ก่อนที่จะมีการบูรณะปรับปรุงในปี พ.ศ.
         ๒๕๖๓


                 การประเมินแนวทางในการอนุรักษ์ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ จากการพิจารณาถึงคุณค่าด้าน

         สถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้ มีคุณค่าในการเป็นตัวแทนของรูปแบบอาคารเรียนสมัยแรก

         ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และให้เห็นถึงวิธีออกแบบที่เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่ใช้การ

         ระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ แต่ไม่ได้มีคุณค่าด้านเทคนิควิธีในการก่อสร้างและคุณค่าในเชิงฝีมือช่างและงาน

         ศิลปกรรม และจากการสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทองพันธุ์ พูนสุวรรณ สถาปนิกผู้ออกแบบเกี่ยวกับการ
         อนุรักษ์อาคารหลังนี้ (เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙) อาจารย์ได้มีแนวคิดว่า



          “      หากเด็กสมัยนี้สนใจศึกษารูปแบบในการก่อสร้างงานสถาปัตยกรรมสมัยก่อนบ้างก็คงจะดี เพราะอีก





         ไม่นานก็จะโดนรื้อถอน สร้างใหม่หมด อาคารเหล่านี้ถูกสร้างมาตั้งแต่ก่อตั้งมหาวิทยาลัย งานทุกชิ้นกว่าจะ
         เกิดได้ยากล าบากมาก เพราะอาจารย์เองต้องท างานออกแบบด้านวิศวกรรมควบคู่กับงานสถาปัตยกรรม

         ไปด้วย เพื่อให้อาคารสามารถก่อสร้างได้อย่างประหยัดและใช้งานเหมาะสมที่สุด ”







                 จึงเห็นได้ว่าแนวคิดของผู้ออกแบบก็เป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์อาคารในรูปแบบที่สะท้อนถึงประวัติ

         และรากเหง้าของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ คณะวิทยาศาสตร์จึงด าเนินการบูรณะตึกสุวรรณ

         วาจกกสิกิจ ซึ่งเป็นอาคารอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้เป็นอาคารหอประวัติคณะวิทยาศาสตร์ นับ
         ได้ว่าเป็นการบูรณะสร้างใหม่ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น


                 สถาปนิกผู้ออกแบบและด าเนินการอนุรักษ์ตึกสุวรรณวาจกกสิกิจ คณะวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๖๓
         คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฐิติวุฒิ ชัยสวัสดิ์อารี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่ง

         อาจารย์เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการบูรณะปรับปรุงเพื่อการอนุรักษ์ตึกนี้ ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า

         การรื้อและสร้างใหม่ (Reconstruction) ให้เหมือนเดิม รวมถึงออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ         ์

         พลังงานด้วย




                                                                                                  ๖
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11