Page 2 -
P. 2
ื
ิ
ิ
ิ
โครงการพัฒนาหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
์
ิ
a
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเกษตรกรได้นำโดรนเพื่อการเกษตรมาใช้ในการทำนามากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับ
กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ได้จัดหาโดรนมาเพื่อให้บริการแก่สมาชิก และ
เกษตรกรในพื้นที่ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนการใช้โดรนดังกล่าว เพื่อให้ได้มาซึ่ง
แนวทางในการให้บริการโดรนเพื่อการเกษตรสำหรับกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่กลุ่มอื่น ๆ ต่อไป
่
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก (1) เพื่อสำรวจสถานะการใช้โดรนเพอการเกษตร
ื่
ื่
(2) เพื่อถอดบทเรียนการใช้โดรนเพื่อการเกษตร และ (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้โดรนเพอ
การเกษตร ของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน
ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ทั้งการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนา
กลุ่ม และการฝึกอบรม
ผลการศึกษาพบว่า มีกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ 8 กลุ่มที่มีโดรนเพื่อการเกษตรเป็นของ
ตนเอง ผ่านการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ เพื่อให้บริการแก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม และ
ที่ไม่เป็นสมาชิกในกลุ่ม ส่วนกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่อีกจำนวน 40 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีสมาชิกกลุ่ม
ื่
บางรายที่ใช้บริการโดรนเพอการเกษตรจากเอกชน ทั้งในชุมชน และนอกชุมชน ผลการศึกษาสามารถ
ถอดบทเรียนการใช้โดรนเพื่อการเกษตรได้เป็น 7 บทเรียน ได้แก่ (1) บทเรียนการขอรับการสนับสนุน
งบประมาณเพื่อจัดหาโดรนเพื่อการเกษตร (2) บทเรียนในการเลือกซื้อโดรนเพื่อการเกษตร (3)
บทเรียนในการสรรหา และการบริหารบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการควบคุมโดรนเพื่อการเกษตร (4)
ื่
บทเรียนการให้บริการโดรนเพื่อการเกษตร (5) บทเรียนการเตรียมความพร้อมก่อนการบินโดรนเพอ
การเกษตร (6) บทเรียนการบินโดรนเพื่อการเกษตร และ (7) บทเรียนการดูแลรักษาหลังบินโดรน
เพื่อการเกษตร จากบทเรียนข้างต้นสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรนา
แปลงใหญ่ในจังหวัดสุพรรณบุรี และในจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปผ่านคู่มือที่ได้จัดทำขึ้นมา
จากผลการศกษาดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของการใช้โดรนในการเกษตร คือ โดรนเป็น
ึ
นวัตกรรมสำหรับลดเวลาในการทำงาน และลดแรงงานคน ช่วยลดอันตรายที่จะเกิดจากการใช้
สารเคมี และการหันมาใช้โดรนเพื่อการเกษตรของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บางกลุ่ม แสดงให้เห็น
ถึงการยอมรับเทคโนโลยีทางการเกษตร และสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อแก้ไข
ปัญหาวิกฤตด้านแรงงาน