Page 190 -
P. 190
โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ิ
ิ
ื
์
ิ
ิ
4-19
ตารางที่ 4-13 การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินภาคตะวันออก
1/
3/
2/
ประเภทการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2564/2565
พื้นที่เกษตรกรรม 13,636,621 13,350,126 13,237,681
พื้นที่ป่าไม้ 4,926,514 4,848,496 4,818,123
พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 1,144,072 1,542,153 1,630,643
พื้นที่อุตสาหกรรม 203,543 317,963 362,712
พื้นที่เบ็ดเตล็ด 1,097,844 814,291 766,724
พื้นที่น้ า 479,218 614,783 671,929
รวม 21,487,812 21,457,812 21,487,812
ที่มา: 1) กรมพัฒนาที่ดิน (2550: 1)
2) กรมพัฒนาที่ดิน (2560: 1)
3) จากการส ารวจในปี พ.ศ. 2564/2565
4.7.2 การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจในภาคตะวันออก
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 เรื่องโครงการจัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก
(Eastern Fruit Corridor) ต่อมาในการจัดท ากรอบพัฒนาภาคตะวันออก พ.ศ.2566-2570 ของส านักงาน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2564: 139) ได้ให้ความส าคัญกับการจัดระบบและเพิ่มประสิทธิภาพ
ตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งการแปรรูปผลไม้ชนิดต่างๆ ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ หัวข้อนี้จะทบทวนสาระส าคัญ
รวม 2 เรื่อง คือ (1) พื้นที่ปลูกผลไม้ (2)พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) พื้นที่ปลูกผลไม้
ผลไม้ที่ส าคัญในภาคตะวันออกมีหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ล าไย
และสัปปะรด โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1.1) ทุเรียน
ได้มีการน าทุเรียนมาปลูกในจังหวัดจันทบุรีมานานกว่า 100 ปี โดยพบว่ามีต้นทุเรียน
อายุยืนยาวถึง 150 ปี คือ ทุเรียนหัวบ่อ ในต าบลเขาบายศรี อ าเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี (กรมทรัพย์สินทางปัญญา,
2564: 1)
ในปี พ.ศ.2564 มีรายงานจากส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2564: 89)
ว่ามีการปลูกทุเรียนในภาคตะวันออก รวม 408,193 ไร่ เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2554 ซึ่งมีพื้นที่ปลูก 288,350 ไร่
จ านวน 119,843 ไร่ ในปี พ.ศ.2564 ปลูกมากที่สุดในจังหวัดจันทบุรีจ านวน 265,014 ไร่ รองลงมาคือจังหวัด
ระยอง จ านวน 80,436 ไร่ น้อยที่สุดในจังหวัดชลบุรี จ านวน 999 ไร่ ดังรายละเอียดในตารางที่ 4-7