Page 117 -
P. 117

์
                                           ิ
                              ื
                                 ิ
                                                                   ิ
                                                                                ิ
              โครงการหนังสออเล็กทรอนกสด้านการเกษตร เฉลมพระเกียรตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                 คำอธิบาย 1 หน้ากระดาษ A4
                       ที่ผ่านมารัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้ใช้นโยบายเกษตรในหลากหลายรูปแบบเพื่อบรรเทาความ

               เดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งต้องใช้งบประมาณในแต่ละปีจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีงานวิจัยที่ทำการ
               ประเมินผลกระทบขั้นสูงต่อความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรตลอดจนความคุ้มค่าของการดำเนินนโยบาย
               เหล่านี้ค่อนข้างน้อย และผลการศึกษาจากงานวิจัยในอดีตอาจก่อให้เกิดปัญหา “ความเอนเอียงในการคัดเลือก”
               และไม่ได้คำนึงถึงกรณีที่ครัวเรือนเกษตรมักเข้าร่วมมากกว่า 1 นโยบายในเวลาเดียวกัน งานวิจัยชิ้นนี้มี

               วัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะในภาคเกษตรจำนวน 8 นโยบายต่อรายได้สุทธิและ
               ภาระหนี้สินของครัวเรือนเกษตรไทยที่เข้าร่วมโครงการ โดยประยุกต์ใช้วิธีการประเมินผลกระทบโดยใช้ค่าคะแนน
               ความน่าจะเป็นของการเข้าร่วมโครงการแบบตัวแปรหลายทางเลือก พร้อมทำการสัมภาษณ์เชิงลึกภาคส่วนที่
               เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายแหล่งครอบคลุมปีการเพาะปลูก 2560/61-2562/2563

                       ผลการศึกษา พบว่า นโยบายการบริหารจัดการน้ำช่วยเพิ่มรายได้สุทธิเกษตรทางตรงให้กับครัวเรือน
               เกษตร 178,852 บาท/ครัวเรือน/ปี อย่างไรก็ตาม นโยบายแผนการผลิตข้าวครบวงจร นโยบาย Zoning by Agri-
               Map และนโยบายธนาคารสินค้าเกษตร กลับทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรลดลง 43,158
               บาท/ครัวเรือน/ปี 32,976 บาท/ครัวเรือน/ปี 125,568 บาท/ครัวเรือน/ปี ตามลำดับ ส่วนนโยบายอื่นๆ ที่เหลือ ไม่

               พบว่าทำให้รายได้สุทธิเกษตรทางตรงของครัวเรือนเกษตรเปลี่ยนแปลง เมื่อพิจารณาผลกระทบของนโยบายต่อ
               ภาระหนี้ของครัวเรือนเกษตร ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงนโยบาย Zoning by Agri-Map ที่สามารถช่วยลดสัดส่วน
               หนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเท่ากับ -0.38 ขณะที่นโยบายธนาคารสินค้าเกษตรกลับทำให้สัดส่วน

               หนี้สินต่อทรัพย์สินรวมของครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้น 0.18
                       เมื่อนำรายได้สุทธิเกษตรทางตรงคูณกับจำนวนครัวเรือนเกษตรที่ได้รับประโยชน์ พบว่า นโยบายการ
               บริหารจัดการน้ำเป็นเพียงนโยบายเดียวที่สร้างผลประโยชน์เชิงบวกจากทั้ง 8 นโยบายที่ได้ทำการศึกษา โดยสร้าง
               มูลค่าผลประโยชนเท่ากับ 378,221 ล้านบาท/ปี ซึ่งนับว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินที่ใช้เฉลี่ย 60,742
                               ์
               ล้านบาท/ปี ขณะที่พบว่า 7 นโยบายที่เหลือไม่คุ้มค่ากับการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน โดยทั้ง 8 นโยบายที่ศึกษา

               สร้างมูลค่าผลประโยชน์เท่ากับ 180,686.25 ล้านบาท/ปี และเมื่อหักลบกับงบประมาณที่ใช้จ่ายตลอด 3 ปี
               ประมาณเฉลี่ย 73,779 ล้านบาท/ปี ทำให้สรุปได้ว่า ทั้ง 8 นโยบายโดยภาพรวมสร้างมูลค่าผลประโยชน์สุทธิเชิง
               บวกรวม +106,908 ล้านบาท/ปี งานศึกษานี้มีข้อเสนอแนะทั้งในภาพรวมและรายนโยบาย โดยสรุปได้ดังนี้

                       1.  ควรปรับเปลี่ยนนโยบายการให้เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าไปสู่การให้เงินช่วยเหลือแบบมีเงื่อนไข เพื่อ
                          สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มภูมิคุ้มกัน
                       2.  ควรสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าอบรมรับความรู้เพิ่มเติมและฝึกปฏิบัติจริง พร้อมการประเมินผลสัมฤทธิ์
                          ที่ไม่ได้วัดเพียงจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม โดยขอความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่

                       3.  ควรเพิ่มแนวทางดึงดูดแรงงานวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคนที่มีศักยภาพให้หันมาทำเกษตรมากขึ้น
                          อาทิ การให้เงินช่วยเหลือพร้อมหลักประกันความเสียหายของผลผลิตในช่วงต้นของการทำเกษตร
                       4.  ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสนับสนุน sharing economy ผ่าน
                          การส่งเสริมตลาดเช่าบริการเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น

                       5.  เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมนโยบายเป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกร การเพิ่มความเข้มแข็งและ
                          บทบาทให้กับสถาบันเกษตรกรน่าจะช่วยให้นโยบายต่างๆ ประสบความสำเร็จได้มากขึ้น


                                                             99
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122