Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


                                                                    ชีวิตในเกษตรฯ ของพระอาจารย์เป็นอย่างไร?
                                                                       คณะวนศาสตร์ เป็นคณะที่รับน้องหนักและโหดที่สุดของประเทศไทย
                                                                    ในสมัยพระอาจารย์ได้ผ่านการรับน้องทุกอย่าง ได้ฝึกฝนตนอย่างดีเยี่ยม ท�าให้
                                                                    คนกเฬวราก ขี้เกียจ กลายเป็นคนที่มีระเบียบวินัย ท�าให้คนที่พร้อมจะฝึกตน
                                                                    อยู่แล้ว รักในการฝึกตน กลายเป็นคนเข้มแข็ง สามารถสู้กับสิ่งยากได้ การรับน้อง
                                                                    ท�าให้ทุกคนถอดเขี้ยว ถอดหัวโขน แล้วลงสู่ความเป็นผืนดินเดียวกัน คณะ
      CONVERSATION WITH OUR FAMILY
                                                                    วนศาสตร์ให้พื้นฐานในการสร้างดินนี้ และปลูกเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งสติปัญญานี้
                                                                       ส่วนภาควิชาการ ไม่ว่าจะเป็นวิชา ENVIRONMENTAL CONSERVATION
                                                                    วิชา BOTANY ทุกอย่างที่เรียนประมวลกลับมาเป็นส่วนผสมของชีวิตหมดเลย
                                                                    อาตมาต้องฝึกไปอยู่ป่าและทะเลตามอุทยานแห่งชาติ ไปหลงป่า กินนอน
                                                                    อยู่ในป่า เราไม่ได้ดูแลเฉพาะตัวเองให้รอด แต่ต้องดูแลเพื่อนทั้งหมดให้รอด
                                                                    ขณะเดียวกันก็ต้องท�ารายงานส่งอาจารย์ และไปสอบด้วย ผู้เรียนคณะนี้
                                                                    จึงต้องพร้อมทั้งกายและใจ ไปจนถึงมีวิชาความรู้ที่เข้มแข็งด้วย

                                                                    ธรรมะที่ตามหาชัดเจนขึ้นไหมจากการเรียนที่นี่?
                                                                       ชัดเจนขึ้น เพราะหลงป่านี่ทุกข์มาก (หัวเราะ) นึกดูว่าไม่ได้อาบน�้า 7 วัน
                                                                    อาหารดี ๆ ไม่ต้องพูดถึง ทุกอย่างที่ได้จากที่นี่ มันบ่มเพาะจนได้ที่ ตอนเป็น
                                                                    นิสิตเราได้ไปวัดป่าบ้านตาด ไปสวนแสงธรรม ได้พบหลวงตามหาบัว ญาณ
                                                                    สัมปันโน และคุณแม่จันดี โลหิตดี เราจึงตัดสินใจลาออกเพื่อไปบวชตอนก�าลังจะ
                                                                    ขึ้นปี 3 เพราะเชื่อว่าวิชาความรู้อันดีงามที่มหาวิทยาลัยสอน เพียงพอแล้ว
                                                                    กับพื้นฐานที่อาตมาต้องการ ที่เหลือคือภาคปฏิบัติอย่างเต็มความสามารถ
                                                                    ของอาตมาเพื่อพิสูจน์ค�าสอนของพระบรมศาสดา

                                                                    บทเรียนที่ได้จากรั้วนนทรีแห่งนี้
                                                                    ที่น�าไปปรับใช้กับการเป็นพระคืออะไร?
                                                                       อาตมาได้รับฐาน ได้รับพลังจากคณะวนศาสตร์หล่อหลอมให้เป็นพระที่มี
                                                                    ความเด็ดเดี่ยว อาจหาญ เรามีจิตที่พร้อมจะสู้กับสิ่งยาก พร้อมผจญกับปัญหา
                                                                    พร้อมเจอกับความยากล�าบาก เรามีภูมิคุ้มกันต่อความทุกข์ ขณะเดียวกัน
                                                                    ก็พัฒนาความสุขให้เกิดขึ้นและแจกจ่ายให้คนอื่นได้ตลอดเวลา
                                                                       การฝึกของคณะวนศาสตร์ ท่านอาจารย์ทุกท่าน รุ่นพี่ เพื่อน รุ่นน้อง
                                                                    ความรักสามัคคีของพวกเราก็เป็นพลังส�าคัญที่ท�าให้อาตมาได้ท�าประโยชน์
                                                                    ให้กับพระพุทธศาสนามากมาย

        64  PROVE YOU GRADUATED FROM KU!
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69