Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
พระพิรุณทรงนาค
องค์พระพิรุณเป็นเทพเจ้าแห่งฝนผู้บันดาลความชุ่มฉ�่าสู่พื้นโลก เป็นเทพเพศชายที่
งดงามมาก มีผิวกายสีต่างกันไปตามคติ แต่เทวรูปที่ปรากฏมักมีกายสีขาวเพราะเป็นเทพที่เกี่ยวกับ
น�้า ทรงขัตติยาภรณ์ท�าด้วยทองค�า มี 2 กร กรขวาทรงพระขรรค์ชัย กรซ้ายปางประทานอภัย
ประทับยืนอยู่เหนือนาคราชในท่าลีลาและการเอี้ยวองค์เล็กน้อย พระพิรุณตามค�าบอกเล่าของ
พลตรีศรีพันธ์ วิชชพันธ์ ศิษย์เก่าอาวุโสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และอดีตเจ้ากรมการสัตว์
ทหารบกได้รับมอบหมายจากพระเดชพระคุณพระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงด�า) ให้
ติดต่อทางโลกทิพย์ ซึ่ง พลตรีศรีพันธ์ วิชชพันธ์ ได้กรุณานั่งสมาธิถามทางเทวโลก และรับทราบ
ข้อมูลว่าพระพิรุณเทพเป็นเทวดาอยู่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นท่านอินทกะหมายเลข 7 และเป็น
พระโพธิสัตว์ที่มีบารมีเต็มที่ และเป็นเทพปกปักรักษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พระพิรุณทรงนาคเป็นเครื่องหมายทางราชการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเป็น
เทพแห่งฝนที่ทรงน�าความสมบูรณ์มาให้แก่พืชพรรณธัญญาหาร ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ (รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์) ด�าริให้ทุกวิทยาเขตมีพระพิรุณทรงนาค
ประดิษฐานไว้เพื่อเป็นเอกลักษณ์ เชิดชูมหาวิทยาลัย และเป็นแหล่งศูนย์รวมจิตใจของบุคลากรและ
นิสิต โดยจัดสร้างองค์พระพิรุณทรงนาคขนาดเท่ากับคนจริง สูงประมาณ 1.50 เมตร ซึ่งมีมูลค่า
1,000,000 บาท มอบให้วิทยาเขตศรีราชา
การก่อสร้างพระพิรุณทรงนาค ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาใช้เวลา
ด�าเนินการก่อสร้าง ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2546 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2546 รวมเวลาใน
การก่อสร้าง 5 เดือน พระพิรุณทรงนาค มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาประดิษฐาน
อยู่บนแท่นสัมฤทธิ์กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร มีน�้าพุที่ละเอียดอ่อนดั่งฟองคลื่นพวยพุ่งขึ้น
จากพื้นน�้าล้อมรอบฐาน ท�าให้มองเห็นองค์พระพิรุณโดดเด่นเสมือนประทับยืนบนพญานาคที่ก�าลัง
แหวกว่ายอยู่ในท้องทะเล ลานพระพิรุณปูด้วยอิฐบล็อกรูปแปดเหลี่ยม อิฐศิลาแทรกด้วยอิฐบล็อก
รูปคธาและจัตุรัสรอบๆ ลานพระพิรุณขนาด 30 x 40 ตารางเมตร ประดับด้วยโคมไฟ 12 จุด
6