Page 46 -
P. 46

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   27


                        ด้วยเหตุนี้นายสวน (มหาดเล็ก) จึงได้กล่าวสรรเสริญพระเจ้ากรุงธนบุรีไว้ใน
                 โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี ว่าพระองค์ได้เสด็จมาคืนชีวิตให้แก่ราษฎรและ
                 บ ารุงพระศาสนาด้วยการท าทานอาหารให้ประทังชีวิต หากปราศจากพระองค์ ราษฎร
                 คงจะอดตายกันไปหมด ซึ่งความในลักษณะนี้ไม่เคยปรากฏในขนบของวรรณคดี

                 ยอพระเกียรติเรื่องใดมาก่อน

                                     แม้พระจักรรัตน์เจ้า   จักรพาฬ
                               ไป่เสด็จสู่ธนสถาน         ที่นี้
                               หมู่นรากรจะลาญ            ลาชีพ
                               เพื่อภุดาหารกี้           ก่อนสิ้นสุดหา
                                     พระมามอบชีพช้อน     ชีพิต

                               อวยโภชนทานอุทิศ           ทั่วได้
                               อเนกบริจาคนิตย์           สนองศาส นานา
                               ธรณิศหวาดไหวไหว้          เชิดชี้ชมผล
                                      (วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม 1, 2532, น. 279)


                        ความกลัวจากการอดอาหารเป็นปมฝังใจอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ หาก
                 เปรียบเทียบกับชาวยุโรปในช่วงทศวรรษ 1660 จะเห็นความคล้ายคลึงกัน ในช่วง
                 เวลานั้นเกิดกาฬโรคหรือไข้ด าระบาดครั้งใหญ่ในยุโรป (The Great Plague) ประชากร
                 ล้มตายเป็นจ านวนมาก เฉพาะที่กรุงลอนดอนมีคนล้มตายประมาณหนึ่งแสนคน ผลจาก

                 เหตุการณ์นั้นท าให้ชาวยุโรปฝังใจเกลียดกลัวหนูซึ่งเชื่อว่าเป็นพาหะน าโรคอย่างมาก
                 จนในสมัยหลังจึงต้องเกิดการ์ตูน MICKY MOUSE/ MIGHGTY MOUSE เพื่อลบล้าง
                 ความกลัวที่ฝังใจมาเป็นเวลานาน

                        ชาวสยามในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็เช่นกัน ความกลัว
                 จากความอดอยากขาดแคลนอาหารได้เปลี่ยนมาเป็นการให้ความสนใจกับ
                 เรื่องอาหารเป็นอย่างมาก จนอาหารกลายเป็นเรื่องส าคัญที่จะต้องกล่าวถึง

                 เมื่อพรรณนาถึงความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง รวมถึงบารมี
                 ของพระมหากษัตริย์ในวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51