Page 139 -
P. 139
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
120 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
1. บทน า
เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านออกเสียงหนังสือในสังคมไทยกับประเทศอื่น
เช่น ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซียและประเทศ
เวียดนาม พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการอ่านออกเสียงหนังสือน้อย ประเทศไทยมี
อัตราการอ่านออกเสียงหนังสือเฉลี่ยคนละ 2-5 เล่มต่อปี (ส านักงานสถิติแห่งชาติ,
2556) สาเหตุที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลงเนื่องมาจากการนิยมรับข่าวสารผ่าน
โทรทัศน์ รองลงมาคือ อ่านหนังสือไม่ออก ไม่มีเวลาอ่าน และไม่ชอบไม่สนใจการอ่าน
ออกเสียงหนังสือ (ดนยา วงศ์ธนะชัย, 2542; ไพพรรณ อินทนิล, 2546) เป็นที่ทราบ
กันว่าการอ่านออกเสียงหนังสือมีผลต่อการเขียนเชิงวิเคราะห์ มีงานวิจัยจ านวนมาก
ที่แสดงให้เห็นว่าการอ่านออกเสียงหนังสือมากท าให้เขียนหนังสือได้ดี เนื่องจากการ
อ่านออกเสียงส่งผลต่อการสร้างความคิดในกระบวนการเขียนเชิงวิเคราะห์หลายประการ
เช่น การเรียนรู้ค าศัพท์ที่เพิ่มพูนจากการอ่านออกเสียงสามารถน ามาใช้ในการเขียน
เชิงวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพได้ เป็นการเรียนรู้วิธีการเรียงล าดับความคิดจากการ
อ่านออกเสียงเพื่อน ามาใช้ในการเขียนเชิงวิเคราะห์ เป็นต้น (Chuenchaichon, 2011;
Flahive & Bailey, 1993; Grabe, 2003; Farahzad, 2010) จึงกล่าวได้ว่า การอ่านออก
เสียงและการเขียนเชิงวิเคราะห์เป็นทักษะที่สัมพันธ์กัน
จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า การศึกษาทั้งทักษะการอ่านออกเสียง
และการเขียนเชิงวิเคราะห์ในประเทศไทย ส่วนมากนักวิจัยจะเน้นที่ทักษะใดทักษะหนึ่ง
ได้แก่ งานวิจัยทักษะการอ่านออกเสียง ทั้งการอ่านออกเสียงภาษาไทย และการอ่าน
ออกเสียงภาษาอังกฤษ (ณัฐิยา ภูขามคม, 2552; ธัญญ์ธีตา เท่งฮวง, 2557; มาลินี
ศรีวรการ, 2555; อมรรัตน์ จิตตะกาล, 2556) ไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยด้านการพัฒนาทักษะ
การอ่านออกเสียงระดับออกเสียง ระดับค า และระดับประโยค รวมถึงการอ่านออกเสียง
เพื่อความเข้าใจ ฯลฯ (โสภิตา โตไร่, 2558) และการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงระดับ
ข้อความ (สมบัติ ค ามูลแก้ว, 2555; โสพินญา สุวรรณ, 2555) ระดับประโยค (ธัญวรัตน์
บัวระภา, 2551; วิริยา วิริยารัมภะ, 2549) ผลการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง
จัดว่าอยู่ในระดับที่ดีทั้งหมด อีกทั้งยังส่งผลให้ประชากรที่ได้เข้ารับการทดลองใน