Page 112 -
P. 112
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
“หน้าที่” ที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรมต่างๆ ยอมรับในความแตกต่างนั้นๆ และพัฒนาตนให้
เป็นผู้มีประสิทธิภาพในการสื่อสารต่างวัฒนธรรม และการที่เรารู้จักคนอื่นมากๆ จากหลากหลายวัฒนธรรม
จะช่วยให้เรารู้จักและเข้าใจตนเองและยอมรับผู้อื่นมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อเรามีโอกาสติดต่อสื่อสารกับวัฒนธรรม
อื่นและรู้จักวัฒนธรรมอื่นๆ มากขึ้น ก็จะมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เชิงวัฒนธรรม (changing
cultural space) หรือการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น (Martin & Nakayama, 2007) หรือแม้แต่
การถ่ายเทและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มมากขึ้นจนอาจเกิดปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า “การปรับตัว
เข้าสู่วัฒนธรรมใหม่” (acculturation) และ “การกลืนหรือกลืนกลายวัฒนธรรม” (assimilation) หรืออาจ
เกิดความรู้สึกสับสนและแปลกแยก (culture shock) ซึ่งเกิดขึ้นกับคนที่ต้องไปใช้ชีวิตในสังคมที่มีวัฒนธรรม
ซึ่งแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิมของตนโดยสิ้นเชิง (เมตตา วิวัฒนานุกุล, 2548)
3. ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมและการใช้ภาษา
ภาษากับวัฒนธรรมมีความสัมพันธ์ที่ต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน เนื่องจากวัฒนธรรมคือสิ่งที่คนใน
สังคมท�าหรือคิดโดยใช้ภาษาเป็นสื่อ และไม่ว่าเราจะคิดเกี่ยวกับอะไรและคิดอย่างไร เราจะต้องใช้กระบวนการ
ทางภาษาที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสิ้น ระบบภาษาจึงท�าให้เราเห็นวัฒนธรรม สังคมและการมองโลก
ของคนที่ใช้ภาษานั้นๆ ด้วย ดังนั้นในการเรียนการสอนภาษาจึงควรมีการสอดแทรกความรู้ทางวัฒนธรรมใน
การเรียนการสอนภาษาด้วย เพราะนอกจากจะเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนแล้วยังเป็นการเปิดโลกทัศน์
หรือมุมมองใหม่ให้แก่ผู้เรียนอีกด้วย (สุภัทรา อักษรานุเคราะห์, 2532) นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนภาษา
อย่างมีเหตุผลมากขึ้น ท�าให้เข้าใจวัฒนธรรมของชาติตนเองมากขึ้น และชื่นชอบเจ้าของภาษานั้นๆ (Kitao,
1991) การสอนภาษาไปพร้อมกับการสอนวัฒนธรรมยังมีผลต่อความเข้าใจภาษาดีกว่าการเรียนรู้ตัวภาษาแต่
เพียงอย่างเดียว ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (communication across culture)
ซึ่งให้ความส�าคัญกับความเข้าใจในวัฒนธรรมของเจ้าของภาษานอกเหนือจากความคล่องทางภาษา ในแง่
ของความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้น สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมในวัฒนธรรมหนึ่ง อาจไม่ถูกต้องเหมาะสมในอีก
วัฒนธรรมหนึ่งก็ได้ ดังนั้นจึงจ�าเป็นต้องเน้นความรู้และการประยุกต์ใช้วัฒนธรรมของภาษานั้นๆ การตระหนัก
รู้ด้านวัฒนธรรม (cultural awareness) จึงไม่ใช่เพียงแค่การใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจ
วัฒนธรรมของเจ้าของภาษาเป็นอย่างดีอีกด้วย (ราเชน มีศรี, 2548)
4. เนื้อหาวัฒนธรรมในชั้นเรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศ
Steele (2002) ได้ก�าหนดหัวข้อเนื้อหาทางวัฒนธรรมส�าหรับผู้เรียนภาษาฝรั่งเศสระดับกลาง ไว้
7 ด้าน ตามแนวโน้มปัจจุบันของสังคมวัฒนธรรมฝรั่งเศส ได้แก่ 1) Repères géographiques เพื่อให้
ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของประเทศฝรั่งเศส 2) Repères historiques เพื่อให้ผู้เรียน
มีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ประเทศฝรั่งเศส 3) Repères politiques เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้เกี่ยวกับ
104 วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554