Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่ม ๒































                คุณสมบัติพร้อมหรือไม่ หากยังบกพร่องในส่วนใดอยู่ก็ควรเร่งสร้างเสริมให้เพิ่มพูนขึ้น เพื่อความสำาเร็จ

                และความเจริญของตนของงาน และของส่วนรวมสืบไป
                       ที่มา : http://www.sa.ku.ac.th/king-spku/2549-1.htm

                วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๙

                       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
                เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำาเร็จการ
                ศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำาปีการศึกษา ๒๕๔๘ – ๒๕๔๙ ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ
                มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน เป็นวันที่ ๒

                       ในโอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานพระโอวาท
                ความว่า การศึกษาในมหาวิทยาลัย เป็นการฝึกฝน อบรมบุคคล ให้มีความรู้ทางวิชาการและมีคุณสมบัติ
                อื่นๆ เช่น มีความสามารถในการคิด มีความรับผิดชอบ มีวินัย และมีความอดทน ทุกคนจึงควรพิจารณา
                ตนเองและเร่งสร้างเสริมคุณสมบัติดังกล่าวให้เพิ่มพูนขึ้น จะได้สามารถสร้างความสำาเร็จและความเจริญ
                แก่ตน แก่ส่วนรวมได้ต่อไป

                       การพัฒนาตนเอง เป็นสิ่งที่ผู้ปรารถนาความสำาเร็จจะต้องกระทำาอยู่ตลอดเวลา บัณฑิตทุกคนแม้
                จะสำาเร็จการศึกษาไปแล้ว จึงต้องขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งในทางทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ ใน
                ทางทฤษฎีหมายถึง การศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยตำาราหรือช่องทางอื่นๆ เช่น วิทยาการอันทันสมัย แล้ว
                นำามาคิดพิจารณาด้วยเหตุผลจนเข้าใจแจ่มแจ้ง ส่วนการศึกษาเพิ่มเติมในวิธีปฏิบัติ หมายถึงการนำาสิ่งที่

                รับรู้มาแล้ว หรือที่ทำาความเข้าใจแล้วนั้น มาฝึกหัดปฏิบัติให้เห็นผลด้วยตนเอง รวมทั้งศึกษาสังเกตจาก
                ผู้ที่เคยปฏิบัติมาก่อนด้วยโดยนัยนี้ แม้จะปฏิบัติผิดพลาดไป ก็สามารถนำามาคิดพิจารณาเป็นบทเรียนได้
                ทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาเพิ่มเติมด้วยการปฏิบัติ ก็คือการเรียนรู้จากประสบการณ์ทั้งของตนเองและ
                ของผู้อื่นนั่นเอง โดยศึกษาหาความรู้ให้เพิ่มพูนกว้างขวางยิ่งขึ้นทุกด้านเชื่อว่าจะสามารถประสบความ
                สำาเร็จ ทั้งในชีวิตและหน้าที่การงานได้แน่นอน

                       ที่มา : http://www.sa.ku.ac.th/king-spku/2549-2.htm


                60 w  พุทธศักราช ๒๕๔๙
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69