Page 3 -
P. 3
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทสรุปผู้บริหาร (1)
บทสรุปผู้บริหาร
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีให้เห็นในหลายรูปแบบ โดยแต่ละรูปแบบจะมี
ระดับความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน และมีเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเพื่อการพัฒนา
เศรษฐกิจร่วมกัน การเพิ่มอ านาจการต่อรองทางการค้า การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หรือราคา
สินค้าที่ส าคัญของกลุ่ม เมื่อปี พ.ศ. 8 ภูมิภาคอาเซียนได้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่าง
ประเทศอย่างเป็นทางการในนาม “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ
AEC)” ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกรวม 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม มาเลเซีย
สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และบรูไน การรวมกลุ่มในรูปแบบดังกล่าวคาดว่า จะท าให้
อุปสรรคด้านการค้าและด้านการลงทุนลดลง รวมทั้งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้า
ที่ส าคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตร ในตลาดโลกให้สูงขึ้น แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ ความ
คล้ายคลึงกันของสินค้าเกษตร เนื่องจากแต่ละประเทศมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน
ส่งผลให้มีสภาพภูมิอากาศที่คล้ายคลึงกัน ตัวอย่างเช่น ยางพาราซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่หลายประเทศ
ในภูมิภาคอาเซียนสามารถผลิตได้ โดยประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกยางพารามากที่สุด
เป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ยางพาราที่ส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือสินค้าขั้นกลาง
ประกอบกับเกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ดังนั้นการเข้าร่วมประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทยอาจจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยาง หรือแม้แต่
อุตสาหกรรมยางพาราที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งทางบวกและทางลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยางพารามีความจ าเป็นอย่างยิ่งที่
จะต้องรับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย และมีการ
ปรับตัวภายใต้เงื่อนไขและข้อจ ากัดที่เผชิญอยู่ เพื่อให้สามารถแข่งขันภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจ
อาเซียนได้ในระยะยาว จึงเป็นที่มาของโครงการวิจัยเรื่อง “การรับรู้ผลกระทบและการปรับตัวของ
เกษตรกรชาวสวนยางพาราและอุตสาหกรรมยางพาราจากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน –
กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อมโยงของโซ่อุปทานยางพารา
2) ศึกษาการรับรู้ผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรชาวสวนยางและอุตสาหกรรมยางพารา
จากการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 3) ศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรชาวสวนยางและ
อุตสาหกรรมยางพาราเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 4) วิเคราะห์ปัจจัย
ก าหนดการรับรู้ผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการปรับตัวของเกษตรกรชาวสวนยางจากการเข้า
ร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเจาะจงศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากจังหวัดสงขลาเป็น
แหล่งผลิตยางพาราที่ส าคัญของภาคใต้รองจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี และถูกก าหนดให้เป็นหนึ่งในเขต