Page 3 -
P. 3

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                         บทคัดย่อ


                       องค์กรชุมชนที่ศึกษาประกอบด้วย กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกร
               ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคลสามกลุ่มในพื้นที่ประสานงานกันในลักษณะเครือข่าย กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง จด
               ทะเบียนเป็นนิติบุคคล สหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิลสองแห่ง คือ สหกรณ์ประมงพาน จ ากัด และ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์
               น ้านครนายก จ ากัด และ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งสี่แห่ง คือ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าสามร้อยยอด-ปราณบุรี จ ากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่ม
               น ้าท่าทอง จ ากัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าปากพนัง จ ากัด และ สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน ้าจันทบุรี จ ากัด ในช่วงที่ศึกษา ปี 2557
               ทั้งหมดสหกรณ์ทั้งสี่มีปัญหากุ้งตายในระยะต้นที่ท าให้เลี้ยงไม่ได้ผล โอกาสที่จะปลอดจากโรคมีประมาณหนึ่งในสาม
                       การศึกษา ประกอบด้วย 1)  การพัฒนาองค์กรชุมชน ได้แก่ สภาพกายภาพของพื้นที่ที่ศึกษา โครงสร้างการบริหาร
               สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของสมาชิก ความคาดหวังและความคิดเห็นที่มีต่อองค์กร ผู้น า และตัวสมาชิกเอง 2)  การเพาะเลี้ยง
               สัตว์น ้า ประกอบด้วยรูปแบบการเพาะเลี้ยงรวมทั้งต้นทุน-รายได้ การตลาด และปัญหาและอุปสรรคที่สมาชิกพบ 3) การวิเคราะห์
               ปัจจัยที่ก าหนดความส าเร็จของการจัดตั้งองค์กรชุมชน ได้แก่ การวิเคราะห์จุดเด่น-จุดด้อย-โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์กล
               ยุทธการพัฒนาองค์กร การวิเคราะห์ สภาวะทั่วไป-สิ่งที่องค์กรชุมชนมี-กระบวนการ-ผลลัพธ์ ขององค์กร การวิเคราะห์การมีส่วน
               ร่วมของสมาชิก 4)  นโยบายของรัฐ 5)  สรุปปัจจัยที่ก าหนดความส าเร็จและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของเกษตรกรผู้
               เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าโดยการจัดองค์กรชุมชน
                       พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความส าเร็จของการจัดองค์กรชุมชน มีสี่ปัจจัยหลักซึ่งเป็นปัจจัยภายในองค์กร สองปัจจัยแรก
               เป็นปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ สมาชิก และ ผู้น า ปัจจัยที่สาม ได้แก่ ที่ตั้งของที่ท าการองค์กร และทุนในการด าเนินงาน ปัจจัยที่สี่

               คือการด าเนินงานขององค์กร ทั้งนี้ความร่วมมือให้การสนับสนุนและโอกาสจากภายนอกองค์กร ก็มีส่วนที่สามารถเกื้อหนุนให้
               สามารถจัดตั้งองค์กรและด าเนินงานอย่างได้ผล  การจัดองค์กรชุมชนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าควรมีแนวทางการพัฒนาปัจจัยเหล่านี้
               เพื่อให้การจัดองค์กรชุมชนสามารถประสบความส าเร็จในการจัดตั้งองค์กร สามารถพัฒนาสมรรถนะของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง

               สัตว์น ้าได้ แนวทางการพัฒนามีดังกล่าวต่อไป
                       รูปแบบขององค์กรชุมชนที่เหมาะสมจะต่างกันไปตามความพร้อมของบุคลากร ทั้ง สมาชิกและผู้น า ทุนในการ
               ด าเนินงาน และความสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐ โดยขั้นต้นสามารถเริ่มในรูปแบบกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ได้จดทะเบียน ร่วมกัน

               สร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรน าโดยการผลิตและตามมาด้วยการตลาด พัฒนามาเป็นกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนเพื่อให้
               สามารถเข้าถึงความสนับสนุนที่หน่วยงานภายนอกสามารถให้ได้ และหากมีความเข้มแข็งสามารถจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ซึ่ง
               กรมส่งเสริมสหกรณ์สามารถเข้ามาดูแลใกล้ชิดและจัดสรรทุนสนับสนุนการด าเนินงานให้ได้

                       แนวทางการพัฒนาองค์กรชุมชนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้า ประกอบด้วย 1)  การ
               พัฒนาสมาชิก ให้ตระหนักในการรวมกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร การเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน ที่ต้องร่วมคิดร่วม
               ท า ควรเริ่มจัดตั้งจากสมาชิกที่มีบรรทัดฐานใกล้เคียงกัน และสมาชิกต้องมีผลผลิตรวมกันมากพอส าหรับการท าธุรกิจขององค์กร

               2) ผู้น าองค์กร ต้องซื่อสัตย์ เป็นธรรม มีเวลาท างานให้องค์กร มีความรู้ มีมนุษยสัมพันธ์ มุ่งมั่นสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร และ
               เป็นที่ยอมรับของสมาชิก 3)  มีที่ท าการที่สมาชิกเข้ามาติดต่อได้สะดวก และมีทุนด าเนินงานที่เพียงพอ ทั้งจาก ภายในองค์กร
               ภาครัฐ และภาคเอกชน 4)  ให้บริการสมาชิกครบถ้วนทั้งในด้านการส่งเสริมการผลิต การจัดหาปัจจัยการผลิต การรวบรวม

               ผลผลิต การให้ความรู้ข่าวสาร และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ภาครัฐโดยเฉพาะกรมประมงควรให้
               ความส าคัญแก่การท างานอย่างบูรณาการในพื้นที่ ทั้งปัญหาที่หน่วยราชการควรมีบทบาทแก้ไข คือ การควบคุมคุณภาพปัจจัย
               การผลิต ทั้งพันธุ์สัตว์น ้า และ อาหารสัตว์น ้า ให้มีคุณภาพ และราคาที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการ

               ผลิตของเกษตรกร






                                                            iii
   1   2   3   4   5   6   7   8